Author name: admin dm

10 ประเทศ ASEAN ใช้ “ใบขับขี่ไทย” ได้แล้ววว ?…

ใบขับขี่ประเทศไทยใช้ได้ทั่ว ASEAN ใบขับขี่ไทยแบบ Smart Card สามารถนำไปใช้ยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนได้ถึง 10 ประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องทำใบขับขี่สากล เนื่องจากเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียนในการขับขี่รถยนต์ข้ามแดนได้ (บริษัท ไอดีไดรฟ์ จำกัด)

.

.

ในกลุ่มประเทศ AEC มีการทำอนุสัญญาข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับใบขับขี่ภายในซึ่งกัน และกันทั้งหมด 10 ประเทศ ตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ อนุญาตให้ใช้ใบขับขี่แบบใหม่ของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า “ใบอนุญาตขับรถ Smart Card” ที่มีแถบแม่เหล็ก และเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่รองรับการจัดเก็บข้อมูลการขับขี่ รองรับการติดตามด้วย GPS Tracking (Global Positioning System: GPS) มีความทันสมัย และน่าเชื่อถือ ทำให้ “ใบอนุญาตขับรถ Smart Card” แบบใหม่นี้เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มประเทศ AEC และสามารถใช้แทนใบขับขี่สากลได้ แต่บางประเทศอาจจะต้องมีการใช้เอกสารอื่น ๆ

.

10 ประเทศ ASEAN ใช้ “ใบขับขี่ไทย” ได้แล้ววว ?… Read More »

วิธีหัดขับรถให้เป็นเร็ว วิ่งบนถนนใหญ่ได้ฉิว สอบใบขับขี่ผ่านสบาย

วิธีหัดขับรถให้เป็นเร็ว วิ่งบนถนนใหญ่ได้ฉิว สอบใบขับขี่ผ่านสบาย

การหัดขับรถคือประตูบานแรกสู่การเดินทางที่อิสระ แต่หลายคนก็แอบกังวลว่าเมื่อไหร่จะขับเป็นเสียที จะขับบนถนนใหญ่ไหวไหม แล้วจะสอบใบขับขี่ผ่านรึเปล่า? ไม่ต้องห่วง! บทความนี้จะบอกวิธีหัดขับรถที่ช่วยให้คุณเก่งเร็ว มั่นใจ และพร้อมลุยทุกสนามสอบ

1. เข้าใจพื้นฐานให้แน่น: กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ

ก่อนจะเหยียบคันเร่งพุ่งออกไป สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจและคุ้นเคยกับส่วนต่างๆ ของรถเสียก่อน:

  • เรียนรู้ส่วนควบคุม: คันเร่ง เบรก คลัตช์ (สำหรับเกียร์ธรรมดา) พวงมาลัย ไฟเลี้ยว ไฟหน้า ที่ปัดน้ำฝน เกียร์ รู้จักตำแหน่งและหน้าที่ของแต่ละอย่าง

  • ปรับท่านั่งขับ: สิ่งนี้สำคัญมาก! ปรับเบาะ ระยะห่างจากพวงมาลัย กระจกมองข้าง กระจกมองหลัง ให้มองเห็นชัดเจนและควบคุมรถได้ถนัด ท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ควบคุมรถได้ดีขึ้นและลดความเมื่อยล้า

  • ทำความเข้าใจสัญลักษณ์บนหน้าปัด: ไฟเตือนต่างๆ หมายถึงอะไร จะได้รู้ปัญหาและแก้ไขได้ทันท่วงที

2. หาผู้สอนที่ดี: มืออาชีพนำทางคุณ

การเรียนกับผู้สอนที่มีประสบการณ์เป็นทางลัดสู่การขับรถที่ถูกต้องและปลอดภัย:

  • เรียนกับโรงเรียนสอนขับรถ: นี่คือตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะครูฝึกจะมีความเชี่ยวชาญ มีหลักสูตรที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และมีรถที่ติดตั้งเบรกฝั่งครูฝึกเพื่อความปลอดภัย แถมยังช่วยเตรียมตัวเรื่องการสอบใบขับขี่ได้ครบถ้วน

  • ฝึกกับคนในครอบครัว/เพื่อนสนิท (ที่มีประสบการณ์และใจเย็น): หากเลือกวิธีนี้ ต้องแน่ใจว่าผู้สอนใจเย็น มีทักษะการขับขี่ที่ดี และสามารถสอนตามกฎจราจรได้อย่างถูกต้อง อย่าลืมหาสถานที่ฝึกที่ปลอดภัยและมีพื้นที่กว้างขวาง

3. ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ: ซ้ำบ่อยๆ จะเก่งเอง

ไม่มีอะไรแทนที่การฝึกฝนได้ การทำซ้ำๆ คือหัวใจสำคัญ:

  • เริ่มจากพื้นที่ปิด: ลานกว้างๆ ที่ไม่มีรถพลุกพล่าน หรือสนามฝึกขับรถ คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ฝึกออกตัว เลี้ยว ถอยหลัง จอดรถ จนคล่อง

  • ค่อยๆ ขยับไปถนนรอง: เมื่อมั่นใจขึ้น ลองออกถนนเล็กๆ ที่มีรถน้อย คุ้นเคยกับการใช้เกียร์ การเลี้ยว การชะลอความเร็ว

  • จับเวลาขับขี่ให้บ่อย: ยิ่งขับบ่อยเท่าไหร่ กล้ามเนื้อและสมองก็จะยิ่งจำได้เร็วขึ้น จัดเวลาฝึกให้สม่ำเสมอ แม้วันละเล็กน้อยก็ยังดี

4. ท่องกฎจราจรให้ขึ้นใจ: ขับขี่ปลอดภัย สอบผ่านฉลุย

การเข้าใจและปฏิบัติตามกฎจราจรไม่ใช่แค่เพื่อสอบผ่าน แต่เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและเพื่อนร่วมทาง:

  • อ่านคู่มือกฎจราจร: ทำความเข้าใจเรื่องเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟ ความเร็วที่กำหนด การแซง การเลี้ยว

  • ฝึกทำข้อสอบจำลอง: เดี๋ยวนี้มีแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่ช่วยจำลองข้อสอบทฤษฎีใบขับขี่ ลองทำบ่อยๆ จะช่วยให้คุ้นเคยและจำได้แม่น

  • ดูคลิปสอนขับรถและกฎจราจร: ใน YouTube มีช่องดีๆ ที่สอนทั้งเทคนิคการขับและอธิบายกฎจราจร ลองเปิดดูเพื่อเสริมความเข้าใจ

5. สร้างความมั่นใจบนถนนใหญ่: เตรียมตัวก่อนลุยจริง

เมื่อพื้นฐานแน่นและสอบทฤษฎีผ่านแล้ว ก็ถึงเวลาเตรียมตัวขับบนถนนใหญ่:

  • เริ่มจากเส้นทางที่คุ้นเคย: เลือกถนนที่ไม่พลุกพล่านในช่วงเวลาที่ไม่เร่งด่วน เช่น วันหยุด หรือนอกเวลาเร่งด่วน

  • มีผู้สอนนั่งไปด้วยเสมอ: ในช่วงแรก ควรมีผู้ที่มีใบขับขี่และมีประสบการณ์นั่งเป็นเพื่อน เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือเมื่อจำเป็น

  • ฝึกสังเกตและคาดการณ์: มองกระจกบ่อยๆ สังเกตปฏิกิริยาของรถคันอื่น และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้า เช่น การเปลี่ยนเลน การเบรกกะทันหัน

  • เรียนรู้เทคนิคการขับขี่เชิงป้องกัน (Defensive Driving): เน้นการขับขี่ที่คาดการณ์อันตราย และหลีกเลี่ยงสถานการณ์เสี่ยงล่วงหน้า ซึ่งสำคัญมากในการขับขี่บนถนนใหญ่

6. เตรียมตัวสอบใบขับขี่: พิชิตความฝัน!

การสอบใบขับขี่ไม่ได้ยากอย่างที่คิด ถ้าเตรียมตัวมาดี:

  • ฝึกภาคปฏิบัติในสนามสอบ: โรงเรียนสอนขับรถจะพาไปฝึกในสนามสอบจริง หรือลองศึกษาคลิปในสนามสอบจำลองของกรมการขนส่งทางบก

  • เน้นจุดที่ต้องระวัง: การจอดเทียบฟุตบาท การเข้าซอง การถอยหลังเข้าช่อง เป็นจุดที่มักจะพลาด ควรฝึกให้ชำนาญ

  • ผ่อนคลายและมีสติ: ในวันสอบจริง ทำใจให้สบาย มีสติ และทำตามขั้นตอนที่ฝึกมา

สรุปแล้ว

การหัดขับรถให้เป็นเร็วและคล่อง ไม่ใช่เรื่องของพรสวรรค์ แต่เป็นเรื่องของการ เรียนรู้ที่ถูกวิธี ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ และสร้างความมั่นใจ ขอแค่มีวินัยและอดทน คุณก็จะสามารถขับรถได้อย่างมั่นใจ สอบใบขับขี่ผ่านสบาย และพร้อมออกไปสัมผัสโลกกว้างได้อย่างอิสระแน่นอน!

>> สนใจสมัครอบรม

<<☎️ โทร: 098-2610126 093-4083377

🔰 LINE: @iddrives (มีเครื่องหมาย@ข้างหน้า)

📧 e-mail: idcontact@iddrives.co.th

เพิ่มเพื่อน

วิธีหัดขับรถให้เป็นเร็ว วิ่งบนถนนใหญ่ได้ฉิว สอบใบขับขี่ผ่านสบาย Read More »

อยากขับรถให้เป็นทำยังไงดี

อยากขับรถให้เป็นทำยังไงดี

การขับรถเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในปัจจุบัน วันนี้ (TZ ) trainingzenter เพราะการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะบางครั้งอาจไม่ตอบโจทย์ ซึ่งแนวทางในการขับรถให้เป็นเร็วมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเรียนจาก โรงเรียนสอนขับรถใกล้ฉัน หรือการศึกษาด้วยตนเอง ในการฝึกขับรถมีความกังวลหลายอย่างสำหรับมือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบภายในรถยนต์ การกะระยะเร่งเครื่องและจอดรถ แต่ความกังวลเหล่านั้นจะหายไปเมื่อเริ่มมีความชำนาญในการขับขี่ที่มากขึ้น

6 วิธีหัดขับรถ เป็นเร็ว เหมาะกับมือใหม่

1.ทำความรู้จักกับรถของคุณก่อนเริ่มต้นขับขี่

ก่อนการขับขี่ควรศึกษารถของตนเองก่อนว่ามีระบบการทำงานอย่างไร ใช้ระบบเกียร์ออโต้ หรือเกียร์ธรรมดา รวมถึงตรวจเช็กระบบเบรก ความพร้อมของยางรถยนต์ มีการปรับไฟ ปรับกระจกให้อยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการขับขี่มากที่สุด

2. ขับช้า ๆ บนถนนที่ปริมาณรถน้อย

การขับขี่รถยนต์ ควรเริ่มต้นจากการขับในถนนที่มีรถน้อยเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ หลังจากเริ่มขับได้คล่องตัวมากขึ้นจึงค่อย ๆ เร่งเครื่องให้มีความเร็วมากขึ้น

3.  ขับขี่ขับในเส้นทางตรง

ควรเริ่มต้นขับในเส้นทางตรงก่อน โดยในระหว่างขับขี่ทำความเคยชินกับระบบคันเร่ง และระบบเบรกก่อนเริ่มต้นขับในถนนใหญ่เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และขับเส้นตรงให้ชำนาญก่อนออกถนนใหญ่ทุกครั้ง

เรียนขับรถกับสถาบันที่ได้มาตรฐานช่วยให้เรียนรู้ทักษะสำคัญได้เร็วยิ่งขึ้น

4. กะระยะเลี้ยวรถ ทดสอบการเลี้ยวรถ

ทดลองเลี้ยวรถในซอยจนเกิดความชำนาญ เพราะหากกะระยะการเลี้ยวผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังทำให้เสียเงินในการซ่อมด้วยหากไม่มีประกันรถยนต์ การฝึกเลี้ยวจนชำนาญจึงเป็นการฝึกเบื้องต้นที่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม

5. ลองขับออกถนนใหญ่ใกล้บ้าน

หลายคนไม่กล้าขับรถบนถนนใหญ่ซึ่งผู้ขับต้องก้าวผ่านความกลัวให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ด้วยตัวเอง หรือเรียนผ่านโรงเรียนสอนขับรถก็เพื่อเป้าหมายในการขับออกถนนใหญ่ ควรเริ่มต้นจากการขับช้า ๆ แล้วค่อยเพิ่มความเร็วจนอยู่ในระดับปกติเมื่อมีความชำนาญมากขึ้น

6. ลองขับแซงรถคันหน้า

การแซงเป็นทักษะในการขับขี่ที่ยากที่สุด ซึ่งเป็นการทดสอบอย่างสุดท้ายในการทดลองขับรถด้วยตัวเอง เพื่อการขับขี่รถที่ปลอดภัย ต้องกะความเร็วของรถคันหน้าก่อนแซง มองกระจกซ้ายขวาจนแน่ใจว่าถนนปลอดรถ แล้วจึงเปิดไฟขอแซง ในช่วงแรกควรมีคนนั่งไปด้วยเพื่อลดความประหม่า

การขับรถของมือใหม่ก็เพื่อให้สามารถขับรถเป็น สอบใบขับขี่ได้ ซึ่งใบขับขี่นี้มีประโยชน์ในการยื่นสมัครงาน และเป็นใบอนุญาตในการขับขี่รถบนท้องถนน มือใหม่หัดขับจึงควรใส่ใจในทักษะที่ต้องใช้ในการสอบใบขับขี่ด้วย

ทักษะที่ควรรู้ก่อนสอบใบขับขี่

การสอบใบขับขี่ เป็นสิ่งที่คนหัดขับรถต้องมีไว้ครอบครอง เพราะจะทำให้การขับขี่ออกถนนใหญ่ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งการสอบใบขับขี่มีทั้งส่วนของการตรวจร่างกาย การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสอบปฏิบัติเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องแสดงทักษะการขับขี่ให้เจ้าหน้าที่ดู มีทักษะที่ต้องใช้ในการสอบปฏิบัติเพื่อรับใบขับขี่ ดังนี้

ทักษะที่ 1 การเดินหน้าและถอยหลังทางตรงเป็นระยะทาง 12 เมตร โดยห้ามเบียดกับเสา และห้ามรถดับโดยเด็ดขาด
ทักษะที่ 2 การจอดรถเลียบทางเท้า ผู้ขับขี่ต้องขับบนเส้นสีที่กำหนดไว้ โดยล้อรถต้องห้ามเกินกับขอบทาง 25 ซม. และรถต้องห้ามเอียง จากนั้นจอดในจุดที่กำหนด ระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร
ทักษะที่ 3 ถอยรถเข้าซอง เป็นการจอดรถโดยถอยรถเข้าในช่องที่กำหนดไว้ ผู้ขับขี่จะต้องระวังไม่ให้รถชนหรือเบียดกับขอบเสา และกระจกหน้ารถไม่เกินเส้นที่กำหนด รวมถึงกำหนดไม่ให้เปลี่ยนเกียร์เกิน 7 ครั้ง

คนที่ขับรถเป็นควรสอบใบขับขี่ทุกคนเพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เพิ่มความอุ่นใจในขณะขับขี่ นอกจากทักษะการขับรถที่จำเป็นสำหรับการหัดขับรถแล้ว อุปกรณ์ในการขับอย่างรถยนต์ก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกรถยนต์คุณภาพดี อะไหล่สมบูรณ์ โดยเฉพาะยางรถยนต์ที่ยังคงยึดเกาะดี เหมาะกับการหัดขับรถ

ขอขอบคุณที่มา : exenthailand

อยากขับรถให้เป็นทำยังไงดี Read More »

การขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ

การขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ

วันนี้

ตรวจสภาพคนขับ

หากคุณต้องเป็นผู้ขับรถแล้ว ยิ่งต้องขับทางไกลด้วย ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรพึ่งกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด

อย่าเปิดกระจก-อย่าปลดล็อกประตู

อย่าเปิดกระจก เพื่อป้องกันฝุ่นควันต่างๆ เข้ามาภายในรถ และอย่าปลดล็อกประตูเด็ดขาด เพื่อป้องกันตนเอง ข้าวของ และคนในรถจากมิจฉาชีพ

ตรวจเช็คเส้นทาง

การสำรวจเส้นทางให้ดี ก่อนลุยจริงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้คนขับสามารถนำทางได้อย่างมั่นใจ ส่วนคนนั่งก็จะไม่ต้องพะว่าพะวง กลัวจะหลง

ใช้ความเร็วให้เหมาะสม

เรื่องการใช้ความเร็วนั้น ต้องใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด เพราะถ้าเร็วเกินไป นอกจากจะโดนตำรวจจับแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุได้อีกด้วย

การขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ Read More »

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

“คู่มือสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย: รีวิวหนังสือรวมกฎหมายความปลอดภัย พ.ศ. 2554”

หนังสือรวมกฎหมายความปลอดภัย พ.ศ. 2554 นับเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในทุกภาคส่วน หนังสือเล่มนี้รวบรวมกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานไว้อย่างครบถ้วน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองได้อย่างชัดเจน

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือ การนำเสนอเนื้อหาที่เข้าใจง่าย มีตัวอย่างประกอบ และมีการอธิบายรายละเอียดของกฎหมายแต่ละฉบับอย่างชัดเจน นอกจากนี้ หนังสือยังครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ เช่น การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดการสารเคมีอันตราย และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนทำงาน ทำให้ผู้อ่านสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงานได้จริง

อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้อาจมีบางส่วนที่เนื้อหาค่อนข้างเชิงเทคนิค เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายอยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเบื้องต้นก็สามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก

สรุปแล้ว หนังสือรวมกฎหมายความปลอดภัย พ.ศ. 2554 เป็นหนังสือที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ขอแนะนำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างศึกษาหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง

คะแนน: 5/5

ข้อเสนอแนะ: ควรมีการอัปเดตเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากกฎหมายอาจมีการปรับเปลี่ยน

ขอขอบคุณหนังสือรวมกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ภายใต้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท พีที่ที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด

NPC กลุ่มงานมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ลดการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทํางาน สามารถดูเนื้อหาสาระเพิ่มตามได้ตามหนังสือเล่มนี้เลยค่ะ
คลิ๊ก

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน Read More »

เครื่องยนต์สั่นเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง ?

เครื่องยนต์สั่นเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง ?

หากวันนี้คุณเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ว่าขับรถอยู่ดีๆ ก็รู้สึกเหมือนรถของคุณมีอาการสั่นผิดปกติ เดินเบาไม่เรียบ มีอาการกระตุก หรือที่เรียกกันว่าอาการ เครื่องยนต์สั่น ไม่ว่าจะตอนเร่งความเร็ว หรือตอนขับปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องตรวจสภาพรถกันแล้วแหละค่ะ

ซึ่งปัญหาเครื่องยนต์สั่นในขณะขับนี้อาจจะดูเหมือนไม่ร้ายแรงมาก แต่ก็ไม่ควรปล่อยไว้นะครับ ควรเช็คให้แน่ใจว่า เครื่องยนต์สั่นเกิดจากสาเหตุอะไร จะได้รีบทำการแก้ไขให้ตรงจุด รวมถึงจะได้ไม่สร้างความรำคาญใจในขณะขับขี่ให้ตัวคุณเองด้วยครับ เราไปดูกันว่ารถที่มีอาการ เครื่องยนต์สั่น เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เดี๋ยว TZ (trainingzenter) พาทุกคนมาทำความรู้จักกันค่ะ


4 อาการเครื่องยนต์สั่น

1. เกิดอาการสั่นเมื่อคุณหยุดรถ

รถของคุณมีอาการสั่นทุกครั้งที่คุณหยุดรถ ในขณะที่รถเดินเบาคุณรู้สึกเหมือนรถมีแรงสั่นสะเทือน อาการดังกล่าวสามารถบ่งบอกถึงปัญหาของเครื่องยนต์ได้เช่นกัน สาเหตุหนึ่งของรถสั่นขณะเดินเบาหรือจอดรถไว้นิ่งๆ อาจมาจาก ตัวยึดเครื่องยนต์หลวม เพราะตัวยึดเครื่องยนต์คือตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องยนต์และรถของคุณ

ตัวยึดเครื่องยนต์จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากเครื่องยนต์ของคุณไว้อย่างปลอดภัย เมื่อตัวยึดเครื่องเสื่อมสภาพ คุณอาจจะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน หรือชิ้นส่วนอื่นในเครื่องยนต์มีปัญหา เช่น หัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุด, หัวเทียนชำรุด, สายพานราวลิ้นไม่ดี ปัญหาเครื่องยนต์เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้รถสั่น ควรนำรถไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบสภาพรถ อย่างละเอียดและแก้ไขปัญหาทันที

2. เกิดอาการสั่นเมื่อเร่งความเร็ว

รถสั่นเมื่อเร่งความเร็ว อาจเกิดจากตัวยึดเครื่องยนต์หลวมหรือชำรุด เมื่อฐานยึดเครื่องยนต์ที่ชำรุดและหลวม จะไม่สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อาการรถสั่น เมื่อเหยียบคันเร่ง ก็อาจเกิดจากระบบบังคับเลี้ยวและระบบกันสะเทือน

การตั้งศูนย์ถ่วงล้อที่ไม่ตรงแนว ก็อาจทำให้พวงมาลัยสั่นเมื่อคุณเร่งความเร็วได้ ปัญหาทั้งสองนี้จะมีอาการรถสั่นลักษณะคล้ายกัน แต่มีวิธีแก้ไขที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นควรนำรถไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบสภาพรถ อย่างละเอียดและแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด

3. เกิดอาการสั่นเมื่อเหยียบเบรก

เมื่อเท้าเหยียบลงแป้นเบรกรถมีอาการสั่นทั้งคัน โดยเฉพาะเหยียบเบรกขณะรถวิ่งด้วยความเร็วสูง ปัญหาดังกล่าวหากไม่รีบไปตรวจสภาพรถและแก้ปัญหาอาจทำให้คุณเสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้ รถสั่นเมื่อคุณเหยียบเบรก อาจบ่งบอกถึงปัญหาของจานเบรกที่บิดเบี้ยว ผ้าเบรกที่สึกหรอ หรือน้ำมันเบรกหล่อลื่นไม่เพียงพอ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของการเบรก ดังนั้นควรนำรถไปพบช่างผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบสภาพรถและแก้ไขปัญหาทันที

4. เกิดอาการสั่นเมื่อขับด้วยความเร็วสูง

อาการรถสั่นเมื่อขับด้วยความเร็วสูงหรือพวงมาลัยสั่น แสดงว่ารถของคุณอาจมีการตั้งศูนย์ล้อผิดตำแหน่ง หรือยางรถยนต์ไม่มีความสมดุลไม่ถูกต้อง เพราะในขณะที่ล้อไม่ตรงตำแหน่ง ก็จะทำให้ส่วนประกอบของระบบกันสะเทือนทำมุมไม่ถูกต้อง ความไม่สมดุลของยางจะเกิดขึ้น เมื่อน้ำหนักรถของคุณไม่ได้กระจายอย่างเหมาะสมบนยางทั้งสี่เส้น หากปล่อยไว้สามารถทำให้ยางรถยนต์เสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร ทำให้เกิดสภาพการขับขี่ที่เป็นอันตรายอีกด้วย

เครื่องยนต์สั่น เกิดจากสาเหตุอะไร ?

1. ยางแท่นเครื่องเสื่อม

สาเหตุ

อีกหนึ่งสาเหตุยอดนิยมที่ทำให้เกิดอาการเครื่องสั่น ขณะอยู่ในช่วงรอบเดินเบา อาจเกิดจากยางแท่นเครื่องชำรุด เนื่องจากยางแท่นเครื่องมีหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือนขณะที่เครื่องกำลังหมุน เมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะเกิดอาการเสื่อมหรือฉีกขาด ทั้งนี้ หากแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการเหยียบคันเร่งให้รอบเครื่องสูงขึ้น อาการสั่นจะหายไปก็จริง แต่อาจทำให้ลูกยางแท่นเครื่องขาดได้

วิธีดูแลและแก้ไข

ถ้ายางแท่นเครื่องชำรุด ควรให้ช่างเปลี่ยนยางแท่นเครื่องใหม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อมีอายุการใช้งานครบ 100,000 กิโลเมตร ควรเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้ารถของคุณไม่ได้ใช้งานหนัก หรือเห็นว่ายางแท่นเครื่องยังมีสภาพดีอยู่ อาจจะใช้งานต่ออีกสักพักแล้วค่อยเปลี่ยนใหม่ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น เมื่อเจอทางขรุขระ, ลูกระนาด, หลุม, หรือเศษหินเกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้นถนน ควรลดความเร็วลง หรือใช้ความเร็วต่ำ

2. หัวเทียนเสื่อมสภาพ/ หัวเทียนสูบใดสูบหนึ่งไม่ทำงาน

สาเหตุ

หากรถของคุณมีอาการอาการสั่นจากเครื่องยนต์ เดินไม่เรียบ หรือสตาร์ตติดยาก เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากหัวเทียนชำรุด เพราะหัวเทียนมีหน้าที่จุดระเบิดและส่งกระแสไฟ เพื่อทำให้เกิดการระเบิดจนผลักให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น-ลง จนสามารถขับเคลื่อนเครื่องยนต์ได้ หากเสื่อมสภาพหรือมักเรียกกันว่าหัวเทียนบอด มักจะเกิดอาการดังกล่าว เนื่องจากหัวเทียนจุดประกายไฟไม่สม่ำเสมอนั่นเอง

วิธีดูแลและแก้ไข

เมื่อรถของคุณมีอาการเช่นนี้ ให้ลองสังเกตหัวเทียนว่ามีสภาพเป็นอย่างไร หากสึกกร่อน หรือเต็มไปด้วยคราบเขม่า, คราบน้ำมัน ควรเปลี่ยนใหม่ทันที ซึ่งเราขอแนะนำว่าให้เปลี่ยนใหม่พร้อมกันทุกหัว เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (แล้วแต่จำนวนกระบอกสูบหรือรูปแบบเครื่องยนต์ เช่น Twin Spark ก็จะใช้หัวเทียนมากหน่อย)

3. ลิ้นปีกผีเสื้อสกปรก

สาเหตุ

ลิ้นปีกผีเสื้อสกปรก เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รอบเครื่องยนต์สวิง ไม่นิ่ง และสั่น เนื่องจากปีกผีเสื้อมีหน้าที่ควบคุมอากาศที่เข้ามาในห้องเผาไหม้ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ จะมีคราบน้ำมัน, คราบเขม่า และฝุ่นละอองมาเกาะ ซึ่งนอกจากจะมีส่วนทำให้เครื่องยนต์ทำงานไม่ราบเรียบแล้วยังและกินน้ำมันขึ้นกว่าปกติด้วย

วิธีดูแลและแก้ไข

ควรถอดลิ้นปีกผีเสื้อออกมาล้างทำความสะอาด โดยอาจใช้บริการศูนย์บริการ หรือทำด้วยตัวเองก็ได้หากมีทักษะและเครื่องมือ เพราะไม่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม เมื่อลิ้นปีกผีเสื้อมีอายุการใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กิโลเมตร ควรนำมาทำความสะอาด เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

4. สายท่อ Vacuum รั่ว

สาเหตุ

อีกสาเหตุหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ หากรถของคุณมีอาการสั่น, รอบเดินเบาไม่นิ่ง, จะดับไม่ดับแหล่ และต้องคอยเร่งเครื่องตลอดเวลานั้น อาจเกิดจากสายท่อ Vacuum รั่วในจุดใดจุดหนึ่ง เนื่องจากท่อ Vacuum มีหน้าที่ช่วยเร่งไฟจุดระเบิดในรอบเดินเบา ให้เครื่องยนต์ไม่สั่น

วิธีดูแลและแก้ไข

เบื้องต้น ให้ตัดปลายสายที่ปริแตกออกก่อน แล้วเสียบกลับคืนใหม่ แต่ถ้ายังพบปัญหาเดิม ควรเปลี่ยนสายท่อ Vacuum ใหม่ “ทุกเส้น” ในเครื่องยนต์ เพราะหากมีเส้นหนึ่งแตกแล้ว เส้นอื่น ๆ ต้องปริแตกตามอย่างแน่นอน

5. มอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบาสกปรก

สาเหตุ

มอเตอร์ควบคุมรอบเดินเบา หรือไอเดิ้ล วาล์ว (Idle Speed Control) จะทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของอากาศ ส่งผลต่อรอบเดินเบา โดยอุปกรณ์นี้นี้จะควบคุมรอบเดินเบาไม่ให้เครื่องรอบตกนั่นเอง และเมื่อเกิดสิ่งสกปรกอุดตัน ไอเดิ้ล วาล์ว จะเกิดอาการติดขัดระหว่างการทำงานได้

วิธีดูแลและแก้ไข

วิธีการแก้ไขนั้นไม่ยาก เมื่อสกปรกก็ต้องนำมาล้างและทำความสะอาดใหม่ แต่ถ้ายังพบปัญหาเดิม ๆ อยู่ ควรเปลี่ยนไอเดิ้ล วาล์ว ใหม่จะดีที่สุด เพื่อตัดปัญหาเครื่องยนต์สั่นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อไหร่ที่รถของคุณเกิดอาการ เครื่องยนต์สั่น ผิดปกติ หากตรวจเช็คเบื้องต้นแล้วไม่แน่ใจ การแก้ไขปัญหาที่ปลอดภัยที่สุดควรนำรถเข้าศูนย์ตรวจเช็คโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความแม่นยำและจะได้แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด เป็นปกติของการใช้งานเครื่องยนต์ เมื่อเวลาผ่านไปภายในรถทุกชิ้นก็เสื่อมสภาพไปตามการใช้งาน ดังนั้น จึงต้องดูแลรักษาเครื่องยนต์อยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาจุกจิกกวนใจระหว่างขับขี่ด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : เยลโล่เซอร์วิส

เครื่องยนต์สั่นเกิดจากสาเหตุอะไร แก้ไขอย่างไรได้บ้าง ? Read More »

วิธีดูแลรักษาหม้อน้ำรถยนต์

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ว่าขับรถอยู่ดีๆ เครื่องยนต์ก็ดับไปซะเฉยๆ สตาร์ทเครื่องอีกครั้งก็ไม่ติดแล้ว รู้สาเหตุอีกทีก็มาจาก หม้อน้ำ นั่นเอง ซึ่งปัญหาเครื่องยนต์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น เกิดจากปัญหาเรื่องระบบระบายความร้อนของ หม้อน้ำรถยนต์

ที่เจ้าของรถส่วนใหญ่ค่อนข้างละเลยส่วนนี้ และไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก รวมถึงบางคนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหม้อน้ำรถยนต์ว่ามีความสำคัญอย่างไรกับเครื่องยนต์ อีกทั้งการดูแลรักษาแบบผิดวิธี อย่างการเติมน้ำเปล่าแทนน้ำยาหล่อเย็น หรือการเลือกใช้น้ำยาหล่อเย็นที่ไร้คุณภาพ จนทำให้เกิดการอุดตัน วันนี้เราจะทุกคนมาทำความเข้าใจกับเรื่องหม้อน้ำรถยนต์ให้มากขึ้น วันนี้ TZ (trainingzenter) พร้อมแนะนำเทคนิคการดูแลหม้อน้ำรถยนต์อย่างถูกวิธี ที่คนรักรถไม่ควรพลาดค่ะ

หม้อน้ำ คืออะไร

หม้อน้ำ คือ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน จากน้ำที่ไหลมาจากโพรงผนังเสื้อสูบ โดยจะเข้ามาสู่หม้อน้ำทางด้านบน จากนั้นน้ำดังกล่าวไหลลงมาตามท่อน้ำในหม้อน้ำ ท่อน้ำเหล่านี้ จะเชื่อมติดกับครีบระบายความร้อน (รังผึ้ง) ซึ่งทำจากโลหะที่ถ่ายเท ความร้อนได้รวดเร็ว

เมื่อน้ำที่มีอุณหภูมิสูงเหล่านี้ เคลื่อนตัวจากด้านบน ลงสู่ด้านล่าง ก็จะถ่ายเทความร้อนออกไป ให้กับครีบระบายความร้อนดังกล่าว ขณะเดียวกัน พัดลมหม้อน้ำ (Fan) ก็จะทำการหมุน เพื่อดูดอากาศที่อยู่ด้านหน้าหม้อน้ำ ผ่านครีบระบายความร้อนหม้อน้ำ ออกมาทางด้านหลัง

เป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนไปเป็นอากาศ เมื่อน้ำที่มีอุณหภูมิสูง ไหลลงสู่ด้านล่าง อุณหภูมิ ก็จะลดลงมาตามลำดับ บริเวณด้านล่างหม้อน้ำ จะมีท่อยางหม้อน้ำ ต่อไปสู่ทางเข้าผนังเสื้อสูบอีกที ทำให้น้ำที่มีอยู่ในระบบ ไหลเวียนไปมา ระหว่างโพรงผนังห้องเครื่อง กับหม้อน้ำได้อย่างต่อเนื่อง

หม้อน้ำ สำคัญอย่างไร

หน้าที่สำคัญของหม้อน้ำรถยนต์ คือ ช่วยระบายความร้อนส่วนเกินจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพราะการเผาไหม้เชื้อเพลิงแต่ละครั้ง จะมีอุณหภูมิสูงมาก ความร้อนที่เกิดขึ้นจะต้องมีน้ำยาหล่อเย็นเป็นตัวนำพาความร้อนส่วนเกินนี้ มาลดอุณหภูมิลงที่บริเวณรังผึ้งหม้อน้ำ

โดยมีพัดลมหม้อน้ำเป็นตัวช่วยให้เย็นลง และวนกลับไปรับความร้อนในเครื่องยนต์อีกครั้ง ทั้งนี้น้ำยาหล่อเย็นจะหมุนวนโดยการสร้างแรงผลักโดยปั๊มน้ำ โดยมีวาล์วน้ำคอยปิด-เปิดควบคุมการไหลของน้ำเพื่อให้อุณหภูมิของเครื่องอยู่ในจุดที่เหมาะสมกับการทำงานนั่นเอง

ประเภทของหม้อน้ำรถยนต์

หม้อน้ำรถยนต์นั้นสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ตามวัสดุได้ 2 ประเภท คือ

1. หม้อน้ำอลูมิเนียม

เป็นหม้อน้ำชนิดนี้ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน เพราะมีน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ ราคาไม่แพง และทำหน้าที่ระบายความร้อนได้อย่างดี แบ่งได้อีกสองแบบคือ แบบที่ฝาเป็นพลาสติก และแบบที่เป็นอลูมิเนียมทั้งอัน ราคาจะแพง และหาซื้อได้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่สั่งทำเอา ระบายความร้อนได้ดีและทนกว่าพลาสติก ข้อเสียคือ ไม่ทนเท่าทองแดงและ ถ้าชำรุดก็ต้องยกเปลี่ยนเลย

2. หม้อน้ำทองแดง

ในสมัยก่อนหม้อน้ำชนิดนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก พบได้ในรถเก่า 20 ปีขึ้นไป โดยมีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ

– ผลิตจากทองเหลืองผสมทองแดง ระบายความร้อนได้ดีมาก ถึงจะมีความร้อนสะสมอยู่บ้างเล็กน้อย

– ผลิตจากทองแดงล้วน ๆ หม้อน้ำชนิดนี้ระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาค่อนข้างแพงและบางรุ่นอาจจะต้องสั่งทำ ส่วนข้อดีของมันคือ แข็งแรงทนทาน ซ่อมได้หากชำรุด

วิธีดูแลรักษาหม้อน้ำรถยนต์

1. ตรวจสอบระดับน้ำ

สังเกตระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่ปกติ และให้สังเกตสีของน้ำยาหล่อเย็นว่าเปลี่ยนไปหรือไม่ หากเริ่มเป็นสีสนิมก็ควรเข้าศูนย์บริการ เพื่อถ่ายเปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็น ควรใช้เป็นน้ำยาหล่อเย็น เพราะน้ำเปล่าทำให้หม้อน้ำเสียหาย ในระยะยาวอาจจะทำให้ขึ้นสนิม และให้สังเกตว่ามีคราบน้ำยาหล่อเย็นไหลอยู่ตามหม้อน้ำรถหรือเปล่า (ห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะที่เครื่องร้อน)

2. ไม่เติมน้ำเปล่าลงในหม้อน้ำ

เพราะการเติมน้ำเปล่าส่งผลเสียหายต่อหม้อน้ำ เพราะนอกจากจะเกิดสนิม กัดกร่อนทำให้หม้อน้ำผุรั่วแล้ว ยังเกิดการอุดตันของคราบตะกรันต่างๆ เช่นหินปูนบริเวณแผงระบายความร้อนในหม้อน้ำ เครื่องจะมีความร้อนขึ้นสูงจนเกิดปัญหาตามมา

3. สังเกตเกจ์ความร้อน

เกจ์วัดความร้อนผิดปกติหรือแจ้งเตือน เหยียบคันเร่งไม่ขึ้น มีเสียงแปลกๆ หากมีอาการดังกล่าว แนะนำให้หาข้างทางจอดให้ไว้ที่สุด เพื่อเครื่องยนต์จะได้ไม่เสียหายไปมากกว่านี้ หรือที่เรียกกันว่า การโอเวอร์ฮีท จอดรถสักพักให้เครื่องเย็น เปิดฝาหม้อน้ำดูว่าน้ำลดไปไหม หากไม่แน่ใจแนะนำให้ โทรหาประกันภัย เรียกรถยก ไปอู่ซ่อมใกล้ๆ ก่อน

หม้อน้ำรถยนต์ เติมยังไง เติมน้ำอะไร

ของเหลวหรือน้ำที่ควรเติมลงในหม้อน้ำรถยนต์ ควรเป็นน้ำยาหล่อเย็นเท่านั้น เพราะน้ำยาหล่อเย็นเป็นตัวช่วยระบายความร้อนให้เครื่องยนต์โดยตรง ทำให้ไม่มีความร้อนที่สูงเกินไป รวมทั้งยังมีส่วนผสมจากสารอื่นๆ ที่ช่วยยืดอายุของหม้อน้ำ ไม่ว่าจะเป็น สารป้องกันสนิม สารป้องกันตะกรัน ช่วยหล่อลื่นปั๊มน้ำ ช่วยป้องกันการอุดตันภายในระบบหล่อเย็น ป้องกันการถูกกัดกร่อน ที่จะเป็นสาเหตุทำให้หม้อน้ำรั่วและหม้อน้ำแห้ง

วิธีเติมน้ำยาหล่อเย็น สามารถใส่เติมลงไปในถังพักน้ำหม้อน้ำได้เลย หรืออาจจะผสมน้ำกลั่นลงไปด้วย เพราะน้ำกลั่นเป็นน้ำที่ไม่มีตะกอนหรือตะกรันที่จะไปจับตัวอยู่ตามเครื่องยนต์และหม้อน้ำ ซึ่งน้ำยาหล่อเย็นในตลาดจะมีการผสมสีลงไปด้วย มีสีแดงอมชมพูและสีเขียว ที่ต้องผสมสีเพื่อให้ช่วยตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่าหม้อน้ำมีจุดที่รั่วซึมตรงไหน เพราะถ้าเป็นน้ำใสๆ ไม่มีสี อาจจะมองไม่เห็นจุดที่รั่วนั่นเอง

เห็นหรือยังครับว่า ถึงแม้หม้อน้ำรถยนต์จะเป็นส่วนประกอบเล็กๆ แต่ก็มีความสำคัญอย่างมากสำหรับรถยนต์ เพราะทำหน้าที่เป็นตัวระบายความร้อน เป็นสิ่งที่ควรหมั่นตรวจสอบสม่ำเสมอ ไม่ควรละเลย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะไม่คุ้มเสีย ที่สำคัญคือ ควรดูแลสภาพรถยนต์ด้วยตัวเองเป็นประจำ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อช่วยให้สังเกตได้ว่ามีจุดใดที่ผิดปกติบ้าง ผู้ใช้รถจะได้ทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

ขอขอบคุณข้อมมูล : เยลโล่เซอร์วิส

วิธีดูแลรักษาหม้อน้ำรถยนต์ Read More »

ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง

วันนี้ TZ(trainingzenter) หน้าที่ของไส้กรองน้ำมันเครื่อง ก็คือ “กรองน้ำมันเครื่อง” โดยอาศัยวิธีการให้น้ำมันเครื่องที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึมผ่านกระดาษกรองเข้าไปสู่แกนกลางของตัวกรอง จากนั้นจึงส่งน้ำมันไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยจะดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เขม่า, เศษโลหะเล็กๆ และฝุ่นผงต่างๆ ไว้ที่กระดาษกรองภายในตัวไส้กรองน้ำมันเครื่องจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งชื่อ บายพาสวาล์ว (Bypass Valve) หรือ เซฟตี้วาล์ว (Safety Valve) ทำหน้าที่ระบายหรือปล่อยผ่านน้ำมันเครื่องให้เข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องผ่านกระดาษกรองเมื่อกระดาษกรองเกิดการอุดตันจนมีแรงดันของน้ำมันเครื่องเกินกว่าแรงดันของบายพาสวาล์ว เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย

ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง ?

น้ำมันเครื่อง เป็นสารหล่อลื่นที่จะช่วยยืดการใช้งานของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องใหม่จะมีประสิทธิภาพในการลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ดีกว่า ทำให้เราต้องเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ น้ำมันเครื่องเมื่อถูกใช้งานแล้วจะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ทำให้คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปสามารถสังเกตได้จากน้ำมันเครื่องที่ถ่ายออกมาหลังจาก ใช้งานครบระยะ จะมีสีเข้มขึ้น มีความข้นเหนียวมากขึ้นและมีตะกอน คราบเขม่าต่างๆ ปนอยู่ด้วย ซึ่งต่างจากตอนที่ใส่เข้าไปใหม่จะค่อนข้างเหลวและใส

ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกจากน้ำมันเครื่องที่ไหลเวียนในระบบ เนื่องจากไส้กรองฯ เป็นตัวดักเก็บสิ่งเจือปนต่างๆที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ทั้งเขม่า ตะกอน รวมไปถึงเศษโลหะของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ หากไส้กรองอุดตันจะปล่อยน้ำมันเครื่องที่มีสิ่งสกปรกเจือปนไหลออกมาโดยไม่ผ่านการกรองและเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติได้

ขอขอบคุณข้อมูล : เยลโล่เซอร์วิส

ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง Read More »

4 วิธีถนอมแบตรถ EV ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้!

เฟจเฟซบุ๊ก EPPO Thailand โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เผยวิธีถนอมแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ป้องกันการเสื่อมเร็วผิดปกติ สามารถทำได้ง่ายๆ 4 วิธี ดังนี้

1. ไม่ปล่อยแบตเตอรี่เหลือ 0% – การปล่อยแบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงแล้วค่อยชาร์จ จะทำให้แบตเตอรี่ทำงานหนักจนเกิดความร้อนสูง

2. หลีกเลี่ยงการชาร์จเต็ม 100% – การชาร์จแบตเตอรี่จนเต็ม 100% เป็นประจำ จะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชาร์จจนเต็ม 100% ด้วยระบบชาร์จไฟแบบ DC (ชาร์จด่วน) ควรรักษาระดับแบตเตอรี่ให้อยู่ระหว่าง 20 – 80% เท่าที่จะทำได้

3. หลีกเลี่ยงการจอดรถหรือชาร์จในที่อุณหภูมิสูงจัด – หากเป็นไปได้ควรจอดชาร์จไฟในพื้นที่ร่ม เพื่อให้ระบบจัดการความร้อนของแบตเตอรี่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสังเกตได้ว่าหากชาร์จในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง กำลังการชาร์จไฟจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด

4. จอดรถนานแบตต้องมากกว่า 30% – หากมีความจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานนับเดือน ควรเหลือปริมาณไฟในแบตเตอรี่อย่างน้อย 30% เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่

เพียงปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้เป็นประจำ ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ EV ได้ไม่มากก็น้อยแล้วค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูล : SANOOK

4 วิธีถนอมแบตรถ EV ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้! Read More »

หลีกเลี่ยงขับรถใกล้จุดบอดของรถบรรทุก

วันนี้ TZ (trainingzenter)ได้รับส่งต่อคำแนะนำจาก กรมการขนส่งทางบก กำชับ!!! ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ สวมหมวกนิรภัย หมั่นตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เตือน!!! หลีกเลี่ยงขับรถใกล้จุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่เพื่อความปลอดภัย

รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ประชาชนนิยมใช้ในการเดินทาง โดยเฉพาะในเขตเมืองหรือในพื้นที่จราจรติดขัด เพราะสะดวกและถึงที่หมายอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ขับรถจักรยานยนต์ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและรุนแรงส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ส่วนหนึ่งคู่กรณีมักจะเป็นรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ กรมการขนส่งทางบกเตือน!!! ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเข้าไปในจุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยจุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ มี 4 จุด ได้แก่

บริเวณด้านหน้าและด้านขวาของรถบรรทุกและรถขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดที่บดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น โดยเฉพาะในระยะประชิด เนื่องจากความสูงของตัวรถ

ด้านหลังของรถบรรทุก ผู้ขับรถบรรทุกไม่สามารถมองเห็นด้านหลังของรถจากกระจกมองหลังได้ และด้านซ้ายของรถบรรทุก ซึ่งเป็นพื้นที่อันตรายที่สุด เนื่องจากเป็นจุดที่มีทัศนวิสัยแคบ ผู้ขับรถบรรทุกสังเกตเห็นรถคันอื่นได้ยาก ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จึงควรหลีกเลี่ยงขับขี่รถเข้าไปอยู่ใกล้พื้นที่จุดบอดของรถบรรทุกในทุกกรณี

นอกจากจุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรหลีกเลี่ยงแล้ว พื้นที่บริเวณไหล่ทางยังเป็นพื้นที่เสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศกรมฯ กำหนดให้รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง (LPD) และด้านท้าย (RUPD) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุรถยนต์ที่มีขนาดเล็กหรือรถจักรยานยนต์ล้มเข้าใต้รถบรรทุกหรือรถยนต์ชนท้ายรถบรรทุกเพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ควรปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ ไม่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และสวมหมวกนิรภัยซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุรุนแรง ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บศีรษะและสมอง ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของคนขับและคนซ้อนท้าย แนะนำให้ประชาชนเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) การสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งต้องใส่สายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี รวมทั้งต้องหมั่นตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยต่อตัวผู้ขับขี่เองและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

หลีกเลี่ยงขับรถใกล้จุดบอดของรถบรรทุก Read More »

อย่าคิดว่าไม่สำคัญ การบำรุงดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้น

สำหรับใครที่ใช้รถยนต์เป็นประจำทั้งคุณผู้หญิง คุณผู้ชาย อาจมองว่าการซ่อมรถ บำรุงดูแลรักษารถเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าจะทำได้  แต่ถ้าเราตั้งใจจะเรียนรู้ศึกษาพื้นฐานจริงๆ  ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เกินความตั้งใจของเราได้ เพราะการดูแลรถยนต์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้รถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยที่สุด

วันนี้ TZ (trainingzenter) จะมาแนะนำเคล็ดลับการดูแลรถยนต์ที่เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรถของเรา ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่ป้ายแดง หรือรถยนต์มือสอง  วิธีบำรุงรักษารถให้เบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งบนโลกออนไลน์ในยุคสมัยนี้  มีข้อมูลสารพัดประโยชน์ของรถหลากหลายยี่ห้อและรุ่นต่าง ๆ เกือบทั้งหมด

ไม่ว่าเรา จะสงสัย สนใจอะไร เราก็สามารถหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายผ่าน YouTube หรือ Facebook จากเหล่าคนรักรถ ผู้รู้ที่ ใช้รถตัวจริงที่มาแนะนำแบ่งปันเทคนิค มีรถมากหน้าหลายตา ที่มาแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน พร้อมบอกทุกเทคนิคและปัญหาของรถแต่ละรุ่นของพวกเขาเหล่านั้น   

การบำรุงรักษารถยนต์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้รถของเรา ทำงานได้ดีตลอดเวลาและเป็นการยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น และนี่ก็คือบางส่วนที่สามารถช่วยในการบำรุงรักษารถยนต์ของเราให้มีการใช้งานมากขึ้น   แถมยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆอีกด้วย

1.การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแนะนำทุก 5,000 ถึง 10,000 กิโลเมตรหรือ 3 ถึง 6 เดือน การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการบำรุงรักษารถยนต์ในสภาพที่ดี น้ำมันเครื่องช่วยในการลดการเสียหายของเครื่องยนต์และช่วยให้ระบบหล่อเย็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

2.การเปลี่ยนฟิลเตอร์

เปลี่ยนฟิลเตอร์อากาศ, ฟิลเตอร์น้ำมัน, และฟิลเตอร์เชื้อเพลิงตามคำแนะนำจากผู้ผลิต การทำเช่นนี้จะช่วยให้รถมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

3.การตรวจสอบและเปลี่ยนสายพาน

การตรวจเช็กสายพานในรถยนต์เป็นส่วนสำคัญเพื่อให้รถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สูงสุด ซึ่งสายพานมีบทบาทสำคัญในการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของรถ เช่น ส่งกำลังไปยังระบบหน่วยปรับอากาศ (A/C), ปั๊มน้ำ, หรือหน่วยปรับแรงเทียน (Power Steering)

4. การเช็กและปรับลมยาง  การรักษาและปรับความดันลมในยางให้ถูกต้องตามคำแนะนำที่ระบุในคู่มือรถ ยางที่ดีจะช่วยให้ควบคุมรถยนต์ได้ดีและป้องกันการสูญเสียการดูดซับน้ำมัน ควรเช็กและเติมลมทุกวันหรืออย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์

การดูแลลมยางเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาประสิทธิภาพขับขี่และความปลอดภัยของรถเรา ซึ้งรถยนต์แต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันในขั้นตอนการเช็กและเปลี่ยนลมยาง ดังนั้น ควรตรวจสอบคู่มือการใช้งานหรือคู่มือรถของเรา เพื่อข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับรถแต่ละรุ่น

5. การเช็กระบบเบรกรถยนต์

  • ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรก (Brake Fluid)  เปิดฝาที่จะเก็บน้ำมันเบรก และตรวจสอบระดับน้ำมัน ในกรณีที่ระดับต่ำเกินไป ควรเติมน้ำมันเบรกทันที ใช้น้ำมันที่ถูกต้องตามคำแนะนำในคู่มือของรถแต่ละรุ่น
  • ตรวจสอบที่รั่ว (Check for Leaks)  ตรวจสอบบริเวณใต้รถหรือในที่จอดรถเพื่อตรวจหาการรั่วของน้ำมันเบรก

หากพบการรั่ว ควรนำรถไปที่อู่เพื่อตรวจเช็กและซ่อมแซม

  • ตรวจสอบผ้าเบรก (Check Brake Pads) ผ้าเบรกหน้าและหลัง ถ้าผ้าเบรกมีความหลุดหรือบางมาก หรือหากมีเสียงสะท้อนเมื่อใช้เบรก อาจต้องเปลี่ยนผ้าเบรก เพื่อความปลอดภัยในการใช้เบรก
  • ตรวจสอบจานเบรก (Check Brake Discs/Rotors) สภาพจานเบรกหน้าและหลัง ถ้ามีรอยแตกร้าวหรือไม่สม่ำเสมอ อาจต้องทำการเจาะหรือเปลี่ยนจานเบรก
  • ตรวจสอบระบบ ABS (Anti-lock Braking System) ทดสอบระบบ ABS โดยให้รถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ และทดสอบการใช้เบรก ถ้ามีปัญหาในระบบ ABS ควรนำรถไปซ่อมที่อู่
  • ทดสอบเบรก (Test the Brakes) ทดสอบระบบเบรกโดยทำการเบรกเบา ๆ และเบรกแรง ๆ เพื่อตรวจสอบความทำงานของระบบ ถ้ามีปัญหา ควรนำรถไปที่อู่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย

6. การดูแลรักษาแบตเตอรี่  แบตเตอรี่ถือเป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์เพราะทำหน้าที่เก็บและสำรองกระแสไฟก่อนนำจ่ายไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ในรถยนต์ ขณะสตาร์ทและยังไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ เช่น ระบบการจุดระเบิดเครื่องยนต์เพื่อให้เครื่องยนต์หมุนและติดเครื่องได้  ระบบไฟส่องสว่างภายในรถระหว่างที่ยังไม่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์ ดังนั้นเราต้องมีการหมั่น ตรวจสอบระดับน้ำ elektrolyte ในแบตเตอรี่ และทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ ระบบชาร์จที่สมบูรณ์จะช่วยให้รักษารถยนต์ของเรา ได้มีประสิทธิภาพที่ดี

7. การล้างรถ

การล้างรถถือเป็นวิธีการ ดูแลรถเบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำได้เอง นอกจากจะเป็นการทำความสะอาดขจัดสิ่งสกปรกที่เกาะอยู่บนตัวรถออกไปแล้ว ยังทำให้รถของเราแลดูใหม่ สีไม่ซีด ไม่มีสนิมเกาะ  แถมการล้างรถยังเป็นการตรวจเช็กสภาพรถทั้งภายในและภายนอก เช่น รอยขีดข่วนหรือร่องรอยสนิมที่อาจเกิดขึ้นบนผิวรถของเราอีกด้วย

8. เปลี่ยนแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ

แผ่นกรองอากาศเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นหรือดักจับสิ่งสกปรกที่จะเข้ามาภายในรถยนต์ โดยเฉพาะบ้านเราเป็นเมืองร้อน และมีฝุ่น PM ค่อนข้างสูงขึ้นในทุกๆปี หากไม่หมั่นตรวจเช็กให้แผ่นกรองอากาศสะอาดอยู่เสมอ อาจทำให้มีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันแผ่นกรองอากาศยังส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักมากกว่าปกติอีกด้วย

9. ใบปัดน้ำฝน

ที่ปัดน้ำฝนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ทัศนวิสัยการมองเห็นของผู้ขับขี่ ของเราดีขึ้นเมื่อต้องขับรถตอนฝนตกหนัก หรือเผชิญสภาพอากาศหนาวจัดหมอกลง ถ้าเช็กแล้วพบว่าที่ปัดน้ำฝนของเรา ไม่สามารถปัดน้ำบนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนก่อน หรือทิ้งคราบน้ำไว้บนกระจกรถ นั่นแสดงว่าใบปัดน้ำฝนของเรา เริ่มเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อความปลอดภัยเวลา ขับรถช่วงหน้าฝน

9 วิธีแสนง่ายกับการดูแลรักษารถยนต์ นอกจากจะเห็นถึงประโยชน์ของการบำรุงรักษารถยนต์ที่ช่วยยืดอายุให้รถอยู่คู่กับเราไปนาน ๆ ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถ อีกทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถแต่ละครั้งถ้าเราหมั่นตรวจสอบและดูแลอย่างเป็นประจำ

อย่าคิดว่าไม่สำคัญ การบำรุงดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้น Read More »

น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีประเภทไหนบ้าง รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

น้ำมันเครื่อง หรือ Engine Lubricant ถือเป็นสารหล่อลื่นที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งในกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ใช้รถเกือบจะทุกคนคงเคยผ่านการ ถ่ายน้ำมันเครื่อง ให้กับรถของตัวเองมาบ้าง แล้วเคยสงสัยไหมว่า น้ำมันเครื่องที่มีอยู่มากมายในท้องตลาดมันต่างกันอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะกับรถของคุณกันแน่ วันนี้ TZ (trainingzenter) จะพามาทำความรู้จักการเลือกใช้น้ำมันเครื่องกันค่ะ

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ก่อนอื่นเราต้องแบ่งแยกประเภทของน้ำมันเครื่องกันให้ได้ก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด หรือจะเรียกว่า 3 เกรด

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐาน

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐานนี้ จะมีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเดียวตามฉลากบนแกลอน เช่น SAE 50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้

ซึ่งแบบนี้จะเหมาะกับรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ หรือประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดีคือราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะอายุการใช้งานสั้น

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่น ในอุณหภูมิสูงก็จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์

สังเกตง่ายๆ คือจะระบุค่าความหนีดมาให้ 2 ตัว โดยมีตัวอักษร W คั่นกลาง เช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด หาซื้อได้ทั่วไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์” หรือ “Synthetic”

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ “Synthetic”  คือ น้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันแร่ ซึ่งได้จากกระบวนการทางปิโตรเลี่ยม เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น รวมถึงแบบ กึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

อักษรย่อหน้าค่าความหนืด

ส่วนเจ้าอักษรย่อหน้าค่าความหนืด นั้นคือตัวย่อของสถาบันที่ทำการทดสอบและรับรองคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 สถาบัน คือ

1. API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

2. SAE หรือ SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS อันนี้คือสมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ASTM หรือ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS ซึ่งเป็นสมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบบนี้มีให้เห็นมากนัก

เลขเบอร์น้ำมันเครื่อง

คราวนี้ก็มาทำความเข้าใจกับตัวเลขและตัวอักษรที่เหลือว่ามันคืออะไร ซึ่งตรงนี้ควรใส่ใจเป็นพิเศษเพราะมันมีผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ และมีตัวเลขให้เลือกอยู่หลายชุดยก ตัวอย่างเช่น 0W-40, 5W-40, 10W-40, 5W-50 ซึ่งตัวเลขพวกนี้มันคือ ค่าความหนืด หรือ Viscosity ของน้ำมันเครื่อง

หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “ค่าความต้านทานการไหล” หรือความข้นเหนียวโดยธรรมชาติที่จะแปรผันตามอุณหภูมิ เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย ซึ่งวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง – 5 C ส่วนประเภทนำ้มันเครื่องกลุ่มฤดูร้อนจะวัดค่าความหนืดที่ 100 C ได้แก่ SAE 20,30,40,50 และ 60 เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า

จากนั้นมาดูว่า อันไหนเป็น น้ำมันเครื่องสำหรับดีเซลหรือเบนซิน โดยสังเกตจาก มาตรฐาน API ซึ่งถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะมีตัวอักษร S หรือ (Service Stations Classifications) เช่น API-SG , API-SM และ API-SN เป็นต้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C หรือ (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เช่น CD , CE หรือ CF4

ส่วนน้ำเครื่องที่ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท นั้นจะมีตัวอักษรกำกับอยู่ 2 ส่วน เช่น API SN/CF หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน SH และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CF แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่าสังเกตุไม่ยากคือค่าอะไรขึ้นก่อนแสดงว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ประเภทนั้น

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

ทีนี้มาถึง วิธีเลือกน้ำมันเครื่อง ที่ในบ้านเรานั้นมีเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมอยู่หลายเบอร์ด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 ซึ่งถ้าจะเลือกใช้เบอร์ที่ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ขอให้เลือกเบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อน หรือเลขตัวหลังที่เป็นเบอร์ 30 ขึ้นไป เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศร้อนๆ ในบ้านเรา

แต่โดยหลักๆ แล้วคุณควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของคุณ เช่น หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น แต่หากรถของท่านเป็นรถเก่า มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ถ้าจะเลือกใช้ น้ำมันเครื่องสำหรับรถเก่า ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้น

หรือจะให้ชัวร์ ก็ควรที่จะเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามมาตรฐานที่คู่มือกำหนด หรือไม่ก็เลือกเกรดสูงกว่า เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกนานแสนนาน

อ้อเมื่อเลือกกันถูกแล้วก็อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยนะ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะการเปลี่ยนนั้นเราจะนำมาฝากแน่นอนในครั้งต่อๆ ไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : autospinn

น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีประเภทไหนบ้าง รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร Read More »

การขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ

ตรวจสภาพคนขับ

หากคุณต้องเป็นผู้ขับรถแล้ว ยิ่งต้องขับทางไกลด้วย ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรพึ่งกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด

อย่าเปิดกระจก-อย่าปลดล็อกประตู

อย่าเปิดกระจก เพื่อป้องกันฝุ่นควันต่างๆ เข้ามาภายในรถ และอย่าปลดล็อกประตูเด็ดขาด เพื่อป้องกันตนเอง ข้าวของ และคนในรถจากมิจฉาชีพ

ตรวจเช็คเส้นทาง

การสำรวจเส้นทางให้ดี ก่อนลุยจริงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้คนขับสามารถนำทางได้อย่างมั่นใจ ส่วนคนนั่งก็จะไม่ต้องพะว่าพะวง กลัวจะหลง

ใช้ความเร็วให้เหมาะสม

เรื่องการใช้ความเร็วนั้น ต้องใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด เพราะถ้าเร็วเกินไป นอกจากจะโดนตำรวจจับแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุได้อีกด้วย

ประเมินความพฤติกรรมผู้ร่วมถนน

ประเมินผู้ร่วมถนน ว่ามีนิสัยการขับรถอย่างไร เช่น ไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้เราระวังตัว และหาทางหลีกเลี่ยงได้

สรุปเทคนิคการขับรถปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ  5 ข้อ

1. การมองไกล

มองไกลไปข้างหน้า 15 วินาที

2. การมองภาพโดยรอบ

มองกระจกทุกๆ 5-8 วินาที

ทิ้งระยะห่างรถกันหน้าอย่างน้อย 4-6 วินาที

3. การเคลื่อนไหวสายตา

เคลื่อนไหวสายตาทุกๆ 2 วินาที

4. การหาทางออกให้ตัวเอง

รักษาระยะห่างรอบตัว

5. การสื่อสารแน่ใจว่าผู้อื่นเห็นเรา

ใช้สัญญาณเตือนต่างๆ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เซฟตี้อินไทย

การขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ Read More »

หน้าฝน ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย

ช่วงนี้ เข้า หน้าฝน แล้ว วันนี้ TZ (trainingzenter) มาแนะนำ การขับขี่รถยนต์บนท้องถนนก็มีความอันตรายเพิ่มขึ้นมาอีกเยอะ และมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุสูง ซึ่งการเตรียมตัวเพื่อขับขี่ในหน้าฝนก็เป็นเรื่องที่ดี เท่านั้นยังไม่พอ ผู้ขับขี่เองก็ควรที่จะระวังเองด้วย ซึ่งการฝึกการขับขี่ให้ปลอดภัยนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้ ว่าแต่ หน้าฝนนี้ เราควรเตรียมตัวเรื่องการขับขี่ยังไงดีล่ะ วันนี้ เรามีบทความมาให้อ่านกัน

ความยากของการขับขี่รถยนต์ใน หน้าฝน

ทัศนวิสัยที่ลดลงเป็นอย่างมาก ขณะที่เราขับขี่รถอยู่กลางฝนนั้น ถ้าเกิดว่าฝนตกหนักมาก ๆ เม็ดฝนก็อาจทำให้ใบปัดน้ำฝนของเราทำงานไม่ทันเลยก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้กระจกของเราพร่ามัว มองทางข้างหน้าไม่ชัด หรือว่ามีหมอกเกิดขึ้นตามข้างทาง ซึ่งก็จะทำให้กระจกรถของเราเกิดฝ้าขึ้นตามไปด้วย ทำให้ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ไม่สามารถมองเห็นรถคันอื่น ป้ายบนถนน หรือสิ่งกีดขวางถนนข้างหน้าได้ไม่ชัด

ถนนที่ลื่นขึ้นเป็นอย่างมาก การขับขี่รถยนต์บนถนนที่ลื่นไปด้วยน้ำฝน น้ำมัน หรือสารใด ๆ ก็ตามที่อยู่บนถนนแล้วลดความสามารถในการยึดเกาะถนนของยาง จะสามารถทำให้รถยนต์นั้นควบคุมยากขึ้น หรือเสียหลักจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

น้ำขังบนถนน การที่มีน้ำขังอยู่บนถนนไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะน้ำจะก่อตัวขึ้นเป็นชั้นขึ้น แล้วทำให้ยางไม่สามารถเกาะติดกับถนนได้อย่างแนบชิด จึงทำให้สามารถเสียการควบคุมรถได้ ซึ่งรวมไปถึงสามารถเลี้ยวและเบรกรถได้ยากขึ้นด้วย

เตรียมรถให้พร้อมสำหรับ หน้าฝน

เช็คสภาพของยางรถ ว่ามีดอกยางที่ลึกพอไหม ดอกยางที่ไม่ลึกพอจะทำให้รีดน้ำออกจากยางไม่ทันเวลาขับขี่รถยนต์ระหว่างฝนตกอยู่ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการ รถเหินน้ำ ผู้ขับรถจะสามารถควบคุมรถได้ลำบากมากขึ้น หรือไม่สามารถควบคุมรถได้เลย การเช็คดอกยางสามารถเช็คได้ง่าย ๆ ด้วยการนำเหรียญไปสอดที่แนวของดอกยาง ถ้าเห็นมากกว่า ⅓ ของเหรียญก็ควรเปลี่ยนยางเป็นอย่างยิ่ง

เช็คความดันลมยาง ให้มั่นใจว่ายางรถไม่ได้อ่อนหรือแข็งจนเกินไป ถ้าเติมเกินหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่โรงงานกำหนดมาให้ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงขึ้น 

เช็คสภาพของใบปัดน้ำฝน เช็คว่าอยู่ในสภาพที่ดีอยู่มั้ย การเช็คใบปัดน้ำฝนก็สำคัญมากพอ ๆ กับการเช็คดอกยาง เพราะว่าขณะที่ฝนตกหนักนั้น จะทำให้ผู้ขับขี่มองถนนไม่เห็นเลย ถ้าใบปัดน้ำฝนไม่ดีพอ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก ใบปัดน้ำฝน ควรเปลี่ยนปีละครั้งเป็นอย่างต่ำ

ปรับเปลี่ยนสไตล์การขับขี่ของผู้ขับ

เว้นระยะห่างจากรถคันหน้า เยอะเป็นพิเศษ เพื่อที่จะสามารถหยุดรถได้ทันก่อนที่จะชนรถคันหน้า ในขณะที่ฝนตก รถยนต์จะสามารถเบรกได้ยากขึ้น จึงทำให้ระยะเบรกเยอะตามไปด้วย และไม่ควรขับรถเร็ว ซึ่งจะทำให้มีเวลาตัดสินใจที่ช้าลง อีกทั้ง การขับขี่ช้า ๆ ทำให้มีทัศนวิสัยที่เพิ่มขึ้นด้วย

เปิดไฟหน้ารถ ขณะที่ขับขี่กลางฝน เพื่อทำให้ผู้ที่ขับรถคนอื่นสามารถเห็นรถของเราได้ด้วย และยังทำให้เพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ด้วย

หลีกเลี่ยงการเลี้ยวรถแบบฉับพลันและขับขี่ที่ความเร็วคงที่ การเลี้ยวแบบฉับพลัน เช่น การเลี้ยว หรือการเบรกทันที อาจทำให้รถของเราเสียการควบคุมได้ และควรระวังน้ำขังบนถนนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะทำให้ยางของเราสูญเสียความสามารถในการเกาะถนน และควรหลีกเลี่ยงการเร่งแบบกดมิดไมล์ด้วย

ทริคในการเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ขณะฝนตก

เว้นระยะจากคันหน้า ให้อยู่ในระยะที่คิดว่าปลอดภัย จะทำให้เรามีเวลาที่จะตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันมากขึ้น เปิดไฟหน้าไว้ จะเป็นไฟต่ำหรือไฟตัดหมอกก็ได้เพื่อเป็นการทำให้คนอื่นเห็นเราด้วย และใช้ไฟเลี้ยวตลอดเวลาถ้าหากเปลี่ยนเลน

สังเกตสิ่งต่าง ๆ บนถนนให้มากเป็นพิเศษ ควรขับขี่ให้อยู่กลางเลนไว้ เพราะว่าแหล่งน้ำขังจะเกิดในบริเวณริมถนน และระวังผู้คน หรือรถมอเตอร์ไซค์เป็นพิเศษด้วย เพราะขณะฝนตก จะทำให้มองสิ่งต่าง ๆ ได้ยากขึ้น

มีสติและใจเย็นอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ขับขี่รถขณะฝนตกอยู่ หลีกเลี่ยงการเลี้ยวหรือเบรกรถกระทันหัน และทำตามที่ป้ายจราจรบนถนนบอก และเคร่งครัดต่อกฏจราจรด้วย และพยายามขับช้า ๆ จะเป็นการเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ และยังสามารถทำให้ปลอดภัยขึ้นด้วย

หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ควรทำอย่างไร

หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นบนท้องถนน เช่นสามารถควบคุมรถได้ลำบาก หรือถนนมีน้ำท่วม การเตรียมตัวให้พร้อมต่อสถานการณ์แบบนี้สำคัญมาก และการตัดสินใจที่เร็วและเด็ดขาดก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้

หากควบคุมรถได้ลำบากหรือรถไถล การควบคุมสติและไม่ตื่นตระหนกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ควรเล่นกับพวงมาลัยรถเพราะว่าสามารถเสียการควบคุมได้ง่ายมาก พยายามเหยียบคันเร่งหรือเบรกให้นุ่มที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อรักษาสมดุลของรถเอาไว้

ถ้าหากขับรถในถนนที่น้ำท่วมอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่รถบนถนนที่น้ำท่วมอยู่เป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากจำเป็น ให้ปิดแอร์และค่อย ๆ ขับผ่านไป ถ้าหากน้ำท่วมไม่สูงมากก็สามารถขับผ่านได้ แต่ถ้าสูงก็ไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง ควรใช้เส้นทางอื่น

ถ้าหากรถเกิดพังขึ้นมาหรือเกิดอุบัติเหตุ ควรที่จะเข็นรถไปที่ปลอดภัยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าหากว่าไม่สามารถขยับรถได้ ให้เปิดไฟขอทางเพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ขับขี่รถคันอื่น และออกจากรถไปอยู่ในที่ปลอดภัย เช่น บริเวณพื้นหญ้าข้างทาง หรือฟุตบาท

สรุป

การขับขี่รถขณะที่ฝนตกอยู่จำเป็นที่จะต้องใช้สติในการขับขี่เป็นอย่างมาก พยายามขับขี่ให้ช้า เว้นระยะให้ห่างจากคันหน้า หลีกเลี่ยงการเลี้ยวกระทันหัน และควรตรวจเช็คสภาพยางอยู่เสมอ ทั้งดอกยางและความดันลมของยาง และเช็คสภาพของใบปัดน้ำฝนด้วย หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ควรตัดสินใจอย่างมีสติและรวดเร็ว หน้าฝนนี้ ขับขี่อย่างปลอดภัยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูล : dparktraffic

หน้าฝน ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย Read More »

เรื่องต้องรู้ของ “ที่ปัดน้ำฝน”

สิ่งที่ควรรู้TZ (trainingzenter) เห็นหลายคนไม่ค่อยสนใจที่ปัดน้ำฝนสักเท่าไหร่ แต่เชื่อไหมค่ะว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญของรถยนต์แบบขาดไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนแบบนี้ และด้วยความไม่ได้คิดว่าสำคัญนี่แหละค่ะ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนจำเป็น เมื่อขับรถแล้วไปเจอฝนตก ยางที่ปัดน้ำฝนดันเสื่อมไปตั้งแต่ตอนไหนก็ไม่รู้ ใช้งานไม่ดี ทำให้ทัศนวิสัยแย่ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเข้าไปอีก วันนี้พี่ TZ เลยว่าจะเม้าส์เรื่องราวของ ที่ปัดน้ำฝน ให้ฟังสักหน่อย…ตั้งแต่ วิธีดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน เมื่อไหร่ต้องเปลี่ยน และวิธีเลือกซื้อ

car wipers 03

1. วิธีดูแลรักษาที่ปัดน้ำฝน

  • หลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน
  • หากต้องจอดตากแดด ไม่ต้องยกก้านขึ้น เพราะจะทำให้สปริงที่ก้านเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
  • เติมน้ำที่ปัดน้ำฝน ให้อยู่ในระดับเต็มพอดีอยู่เสมอ
  • ใช้น้ำสะอาดเติมเท่านั้น ไม่เติมน้ำยาลงในถังน้ำฉีดกระจก เพราะจะทำให้ยางและท่อเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดที่ปัดน้ำฝนไปในทางเดียวกัน สัปดาห์ละครั้ง
  • ทำความสะอาดกระจกรถบ่อย ๆ
  • หมั่นเปิดปุ่มฉีดน้ำบ้าง หากน้ำฉีดไม่ออก นำเข็มไปจิ้มที่รูฉีด เพราะอาจอุดตัน

2. เมื่อไหร่ต้องเปลี่ยนที่ปัดน้ำฝน

  • เมื่อยางปัดน้ำฝน เริ่มฝืด หรือสะดุด และมีเสียงดัง ขณะทำงาน
  • เมื่อไม่สามารถปัดน้ำฝนได้เกลี้ยง รีดน้ำออกไม่หมด ยังเหลือมีคราบรอยน้ำเป็นเส้นยาวอยู่
  • เมื่อยางปัดน้ำฝน มีรอยฉีก หรือแข็งกรอบ
  • เมื่อพบว่ายางปัดเสื่อม ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะนอกจากจะทำให้ทัศนวิสัยไม่ดีแล้ว ยังทำให้กระจกหรือฟิล์มเป็นรอยด้วย
car wipers 02

3. วิธีเลือกซื้อที่ปัดน้ำฝน

  • เลือกยางปัดน้ำฝน ที่ใช้วัสดุและเนื้อยางที่มีคุณภาพดี ยืดหยุ่น เพื่อความคงทน
  • รถยนต์แต่ละรุ่นใช้ยางปัดน้ำฝนขนาดต่างกัน ควรซื้อให้ถูกขนาดและรุ่น หรือวัดความยาวของอันเดิม ก่อนซื้อ
  • รถบางคัน มีที่ปัดน้ำฝน 2 ก้าน แต่ละข้างอาจความยาวไม่เท่ากัน ควรวัดความยาวทั้ง 2 ข้าง

อ่านจบกันแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงรู้ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับที่ปัดน้ำฝน และพร้อมที่จะขับรถฝ่าฝนอย่างปลอดภัยแล้ว ก็อุ่นใจไปเปาะหนึ่ง แต่สิ่งที่เราอยากกำชับห้ามไม่ให้ทุกคน ลืมกันนั่นก็คือ คาดเข็มขัดทุกครั้งที่ใช้รถยนต์นะคะ

ขอบคุณที่มา : safeeducationthai

เรื่องต้องรู้ของ “ที่ปัดน้ำฝน” Read More »

วิธีหัดขับรถให้เป็นเร็ว วิ่งบนถนนใหญ่ได้ฉิว สอบใบขับขี่ผ่านสบาย

อยากขับรถให้เป็นทำยังไงดี

การขับรถเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในปัจจุบัน วันนี้ (TZ ) trainingzenter เพราะการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะบางครั้งอาจไม่ตอบโจทย์ ซึ่งแนวทางในการขับรถให้เป็นเร็วมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเรียนจาก โรงเรียนสอนขับรถใกล้ฉัน หรือการศึกษาด้วยตนเอง ในการฝึกขับรถมีความกังวลหลายอย่างสำหรับมือใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบภายในรถยนต์ การกะระยะเร่งเครื่องและจอดรถ แต่ความกังวลเหล่านั้นจะหายไปเมื่อเริ่มมีความชำนาญในการขับขี่ที่มากขึ้น

6 วิธีหัดขับรถ เป็นเร็ว เหมาะกับมือใหม่

1.ทำความรู้จักกับรถของคุณก่อนเริ่มต้นขับขี่

ก่อนการขับขี่ควรศึกษารถของตนเองก่อนว่ามีระบบการทำงานอย่างไร ใช้ระบบเกียร์ออโต้ หรือเกียร์ธรรมดา รวมถึงตรวจเช็กระบบเบรก ความพร้อมของยางรถยนต์ มีการปรับไฟ ปรับกระจกให้อยู่ในสภาพที่พร้อมต่อการขับขี่มากที่สุด

2. ขับช้า ๆ บนถนนที่ปริมาณรถน้อย

การขับขี่รถยนต์ ควรเริ่มต้นจากการขับในถนนที่มีรถน้อยเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ หลังจากเริ่มขับได้คล่องตัวมากขึ้นจึงค่อย ๆ เร่งเครื่องให้มีความเร็วมากขึ้น

3.  ขับขี่ขับในเส้นทางตรง

ควรเริ่มต้นขับในเส้นทางตรงก่อน โดยในระหว่างขับขี่ทำความเคยชินกับระบบคันเร่ง และระบบเบรกก่อนเริ่มต้นขับในถนนใหญ่เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และขับเส้นตรงให้ชำนาญก่อนออกถนนใหญ่ทุกครั้ง

เรียนขับรถกับสถาบันที่ได้มาตรฐานช่วยให้เรียนรู้ทักษะสำคัญได้เร็วยิ่งขึ้น

4. กะระยะเลี้ยวรถ ทดสอบการเลี้ยวรถ

ทดลองเลี้ยวรถในซอยจนเกิดความชำนาญ เพราะหากกะระยะการเลี้ยวผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และยังทำให้เสียเงินในการซ่อมด้วยหากไม่มีประกันรถยนต์ การฝึกเลี้ยวจนชำนาญจึงเป็นการฝึกเบื้องต้นที่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม

5. ลองขับออกถนนใหญ่ใกล้บ้าน

หลายคนไม่กล้าขับรถบนถนนใหญ่ซึ่งผู้ขับต้องก้าวผ่านความกลัวให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ด้วยตัวเอง หรือเรียนผ่านโรงเรียนสอนขับรถก็เพื่อเป้าหมายในการขับออกถนนใหญ่ ควรเริ่มต้นจากการขับช้า ๆ แล้วค่อยเพิ่มความเร็วจนอยู่ในระดับปกติเมื่อมีความชำนาญมากขึ้น

6. ลองขับแซงรถคันหน้า

การแซงเป็นทักษะในการขับขี่ที่ยากที่สุด ซึ่งเป็นการทดสอบอย่างสุดท้ายในการทดลองขับรถด้วยตัวเอง เพื่อการขับขี่รถที่ปลอดภัย ต้องกะความเร็วของรถคันหน้าก่อนแซง มองกระจกซ้ายขวาจนแน่ใจว่าถนนปลอดรถ แล้วจึงเปิดไฟขอแซง ในช่วงแรกควรมีคนนั่งไปด้วยเพื่อลดความประหม่า

การขับรถของมือใหม่ก็เพื่อให้สามารถขับรถเป็น สอบใบขับขี่ได้ ซึ่งใบขับขี่นี้มีประโยชน์ในการยื่นสมัครงาน และเป็นใบอนุญาตในการขับขี่รถบนท้องถนน มือใหม่หัดขับจึงควรใส่ใจในทักษะที่ต้องใช้ในการสอบใบขับขี่ด้วย

ทักษะที่ควรรู้ก่อนสอบใบขับขี่

การสอบใบขับขี่ เป็นสิ่งที่คนหัดขับรถต้องมีไว้ครอบครอง เพราะจะทำให้การขับขี่ออกถนนใหญ่ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งการสอบใบขับขี่มีทั้งส่วนของการตรวจร่างกาย การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสอบปฏิบัติเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องแสดงทักษะการขับขี่ให้เจ้าหน้าที่ดู มีทักษะที่ต้องใช้ในการสอบปฏิบัติเพื่อรับใบขับขี่ ดังนี้

ทักษะที่ 1 การเดินหน้าและถอยหลังทางตรงเป็นระยะทาง 12 เมตร โดยห้ามเบียดกับเสา และห้ามรถดับโดยเด็ดขาด
ทักษะที่ 2 การจอดรถเลียบทางเท้า ผู้ขับขี่ต้องขับบนเส้นสีที่กำหนดไว้ โดยล้อรถต้องห้ามเกินกับขอบทาง 25 ซม. และรถต้องห้ามเอียง จากนั้นจอดในจุดที่กำหนด ระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร
ทักษะที่ 3 ถอยรถเข้าซอง เป็นการจอดรถโดยถอยรถเข้าในช่องที่กำหนดไว้ ผู้ขับขี่จะต้องระวังไม่ให้รถชนหรือเบียดกับขอบเสา และกระจกหน้ารถไม่เกินเส้นที่กำหนด รวมถึงกำหนดไม่ให้เปลี่ยนเกียร์เกิน 7 ครั้ง

คนที่ขับรถเป็นควรสอบใบขับขี่ทุกคนเพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย เพิ่มความอุ่นใจในขณะขับขี่ นอกจากทักษะการขับรถที่จำเป็นสำหรับการหัดขับรถแล้ว อุปกรณ์ในการขับอย่างรถยนต์ก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกรถยนต์คุณภาพดี อะไหล่สมบูรณ์ โดยเฉพาะยางรถยนต์ที่ยังคงยึดเกาะดี เหมาะกับการหัดขับรถ

ขอขอบคุณที่มา : exenthailand

วิธีหัดขับรถให้เป็นเร็ว วิ่งบนถนนใหญ่ได้ฉิว สอบใบขับขี่ผ่านสบาย Read More »

ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไรให้ปลอดภัยเมื่อต้องเจอกับถนนที่ลื่น

ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไรให้ปลอดภัยเมื่อต้องเจอกับถนนที่ลื่น

วันนี้ TZ (trainingzenter) จะพามาเรียนรู้ การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะฝนตกนั้นเป็นที่รู้กันว่าจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก ไม่เพียงแต่วิสัยทัศน์ในการมองเห็นของผู้ขับขี่ลดลง แต่ยังมีอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตอนฝนตกแล้วถนนลื่นอีกด้วย เนื่องจากความต้านทานของยางรถกับพื้นถนนน้อยลงทำให้การทำงานของเครื่องยนต์รถมอเตอร์ไซค์ทรงตัวได้ยากขึ้น ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ควรต้องมีวิธีป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ทำไมตอนฝนตกถนนถึงลื่นกว่าปกติ
เมื่อฝนตกถนนจะเปียกและลื่นกว่าปกติมาก การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะที่ฝนตกจึงมีอุปสรรคมากกว่าเดิม เหตุที่ถนนลื่นตอนฝนตกนั้นเพราะมีน้ำฝนมาเป็นตัวขั้นกลางระหว่างล้อรถมอเตอร์ไซค์กับถนน โดยในช่วง 10 นาทีแรกน้ำฝนที่ตกลงมาจะมีการผสมเข้ากับฝุ่นผงที่อยู่บนถนนทำให้เกิดเป็นดินโคลน ทำให้ยางล้อรถมีความต้านทานน้อยลงมาก ยางรถไม่เกาะถนน ช่วงที่มีฝนตกลงมาแรก ๆ จึงควรต้องระวังมากเป็นพิเศษ เมื่อฝนเริ่มตกไปสักระยะความต้านทานจะสูงขึ้นแต่ก็ยังคงต้องระวังอยู่เพราะล้อรถยังคงมีแรงต้านทานไม่เท่ากับวิ่งบนถนนแห้งปกติ

อุบัติเหตุทางถนนที่มักเกิดในช่วงเวลาฝนตก
เมื่อฝนตกจึงทำให้ถนนลื่น แน่นอนว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติจึงจำเป็นที่จะต้องมีความระมัดระวังในการขับขี่ให้มากขึ้นจากอุบัติเหตุต่าง ๆ โดยอุบัติเหตุทางถนนที่มักจะพบเจอได้ในช่วงเวลาที่ฝนตก คือ

1. อุบัติเหตุที่เกิดจากการชนกัน
เนื่องจากเมื่อฝนตกถนนจะมีความลื่นมากกว่าปกติทำให้การขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มีการทรงตัวและสมรรถภาพในการเบรกรถได้ยากขึ้น ทำให้อาจจะเกิดเหตุชนกันได้บนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นการชนท้ายหรือเกี่ยวกันล้ม

2. ชนปะทะกับผู้คนที่กำลังข้ามถนน
วิสัยทัศน์ในการขับขี่จะลดลงเมื่อต้องขับขี่ท่ามกลางสายฝนทำให้ผู้ขับขี่อาจจะมองไม่เห็นสัญญาณไฟจราจรหรือสัญญาณการข้ามถนนบนทางม้าลายทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย

3. ล้อปัดของรถที่เกิดจากการเบรกกะทันหัน
การเบรกรถกะทันหันอาจจะทำให้ล้อรถปัดและไปเฉี่ยวชนรถคันอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ หรือปัดให้รถล้มเอง

4. การชนที่เกิดจากการมองเห็นไม่ชัดเจน
นอกจากอุปสรรคจากถนนลื่นแล้วยังมีอุปสรรคในการมองเห็น วิสัยทัศน์ของผู้ขับขี่ที่ลดลงตอนฝนตก สาเหตุนี้ก็จะเป็นสาเหตุสำคัญที่สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ตามมาได้

5. ขับรถชนสิ่งกรีดขว้างบนถนน
การมองเห็นไม่ชัดเจนของผู้ขับขี่รถในขณะฝนตกอีกอย่างหนึ่ง ที่ต้องระวังคือการขี่รถชนกับสิ่งกรีดขวางบนท้องถนน ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบาท ไหล่ทาง และอื่น ๆ

ข้อควรระวังเมื่อขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในขณะถนนลื่น
ข้อควรระวังที่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ ในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ขณะที่ถนนลื่น คือ
· ลดความเร็วในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ให้น้อยลงเพื่อป้องกันการแฉลบของล้อรถ
· ควรใช้เกียร์ต่ำในการขับขี่
· เปิดไฟหน้ารถเพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็น
· หลีกเลี่ยงการเบรกกะทันหัน
· หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำเพราะถนนในบริเวณที่มีน้ำขังจำนวนมากอาจจะทำให้เครื่องยนต์ดับหรือรถล้มได้
· สำหรับมอเตอร์ไซค์ที่มีคลัทช์ไม่ควรเลี้ยงตลอดเวลาเพราะว่าอาจจะทำให้คลัทช์ลื่นและเกิดอุบัติเหตุง่ายขึ้น

เช็กรถมอเตอร์ไซค์เพิ่มความมั่นใจในหน้าฝน
การตรวจเช็กอุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์เป็นอีกข้อสำคัญในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ไม่ว่าจะในฤดูฝนหรือฤดูอื่น ๆ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน จึงควรจะต้องมีการเช็กส่วนต่าง ๆ ของรถมอเตอร์ไซค์ ดังต่อไปนี้
· ยางรถมอเตอร์ไซค์ควรจะต้องมีการตรวจเช็กสม่ำเสมอเกี่ยวกับดอกยางว่ายังมีแรงต้านทานกับพื้นถนนปกติหรือไม่
· ลมยางรถมอเตอร์ไซค์ในหน้าฝนต้องใส่ใจเป็นพิเศษในเรื่องการเพิ่มลมยางให้มากกว่าปกติเพื่อเพิ่มความต้านทานกับถนนที่มีความลื่น
· ตรวจสอบเบรกว่าทำงานปกติหรือไม่
· ตรวจสอบไฟหน้ารถว่ามีความสว่างเพียงพอหรือไม่เพราะการขับขี่ในขณะฝนตกจะมีความมืดและมีอุปสรรคในการมองเห็นมากกว่าปกติ
· เป็นไปได้ควรเลือกยางรถมอเตอร์ไซค์ที่มีดอกยางละเอียดมีร่องยางที่รีดน้ำได้ดี

ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ในฤดูไหนก็ควรที่จะระมัดระวังและตรวจสอบสภาพรถเป็นประจำเพียงแต่ในฤดูฝนควรจะต้องเตรียมตัวและเช็กสภาพรถให้มากกว่าเดิมเพื่อเตรียมรอรับสภาวะถนนลื่นในขณะฝนตกให้ดี เพื่อการขับขี่ที่ปลอดภัยบนท้องถนน นอกจากสภาพรถแล้วการขับขี่ด้วยความระมัดระวังก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ผู้ขับขี่ต้องคำนึงถึง

การหลีกเลี่ยงถนนลื่นเป็นไปได้ยากในช่วงระยะเวลาหน้าฝนดังนั้นผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์จึงจำเป็นต้องเตรียมตัวเองเมื่อต้องขับขี่ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้อุปกรณ์ในการเซฟความปลอดภัยอย่าง หมวกกันน็อก หรือ การศึกษาเกี่ยวกับ ยางมอเตอร์ไซค์ ที่จะช่วยลดความเสียหายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนให้น้อยลง

ขอบคุณข้อมูลจาก :  yamahataworn

ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างไรให้ปลอดภัยเมื่อต้องเจอกับถนนที่ลื่น Read More »

10 เหตุผล ที่คุณไม่ควรขับรถแช่เลนขวา

วันนี้ TZ (trainingzenter) จะมาแนะนำ การขับรถแช่เลนขวาเป็นปัญหาที่เรียกว่าค่อนข้างใหญ่พอสมควรในสังคมไทย โดยที่เราสามารถสังเกตเห็นอยู่ในทุก ๆ วัน ผู้ขับขี่หลายคนเข้าใจว่าเลนขวาคือเลนสำหรับรถที่ขับเร็ว แต่หลายคนก็ลืมคิดไปว่าบนท้องถนนนั้นมีรถหลายคันที่อาจจะขับเร็วกว่ ารถของตัวเองก็ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่และเป็นที่มาของอุบัติเหตุบนท้องถนนหลาย ๆ ครั้ง ดังนั้นเพื่อไขข้อข้องใจว่าเพราะอะไร คุณถึงไม่ควรขับรถแช่เลนขวา วันนี้ ร้านไทยจราจร มีคำตอบมาให้คุณ

1. ไม่มีพื้นที่ให้แซง โดยปกติแล้วเลนขวาเป็นเลนสำหรับใช้แซงเมื่อแซงเรียบร้อยแล้วต้องรีบหาระยะที่ปลอดภัยเพื่อกลับไปอยู่เลนเดิม แต่การที่คุณขับรถแช่เลนขวานาน ๆหากรถข้างหน้าช้าเหมือนกันการที่รถของคุณจะแซงก็เป็นไปได้ยาก
เพราะไม่มีพื้นที่ให้แซงอีกแล้ว

Placeholder image

 2. เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากเลนขวามีไว้สำหรับรถที่ขับเร็วและรถที่ต้องการแซงเท่านั้นแต่หากรถที่ขับช้าแต่ไปขับเลนขวานานๆโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ก็มีสูงเพราะรถที่ตามมาด้วยความเร็วสูงอาจต้องการแซงซึ่งการแซงซ้ายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ

3. มีรถที่ขับเร็วกว่าเรา
หลายคนอาจจะคิดว่าขณะที่ตัวเองขับรถเลนขวาอยู่นั้นความเร็วที่ใช้เป็นความเร็วที่เหมาะสมแล้วแต่อย่าลืมว่าบนท้องถนนมักมีคนที่ขับเร็วกว่าเราเสมอสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการที่คนขับรถเร็วแล้วต้องตามหลังรถที่ขับช้าอาจะเกิดความหงุดหงิด และรำคาญใจได้เมื่อต้องการแซงก็ไม่มีพื้นที่ให้แซงหากแซงซ้ายก็มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทั้งคันที่จะแซงและคันที่จะ

Placeholder image

4. ทัศนวิสัยไม่ดี เมื่ออยู่เลนขวานาน ๆ แน่นอนว่าทัศนวิสัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะถัดไปจากเลนขวาแล้วจะเป็นเกาะกลางและเป็นเลนสำหรับรถสวน การมองเห็นก็น้อย และมองเห็นไม่ถนัดเท่าไหร่นักหากมีรถตัดหน้าหรือมีสิ่งกีดขวางข้างหน้าก็ยากที่จะหลบมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

Placeholder image


5. สร้างความรำคาญใจให้ผู้ขับขี่คนอื่น ๆ
บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองขับรถเร็วที่สุดแล้วแต่อย่าลืมว่ามีคนที่ขับเร็วกว่าเราเสมอการที่เราขับแช่เลนขวานาน ๆ
แน่นอนว่ารถที่ตามมาข้างหลังอาจเกิดความไม่พอใจได้อย่างหลายกรณีที่เรามักเห็นในข่าวที่รถคันหลังยกไฟสูงเพื่อให้รถข้างหน้าหลบให้ แต่ข้างหน้าไม่ยอมหลบเป็นที่มาของอุบัติเหตุและความไม่พอใจต่อกันของผู้ขับขี่

6. ผิดกฎหมายบนท้องถนนจะมีเทปติดถนนสะท้อนแสงที่แบ่งเลนถนนให้เห็นอย่างชัดเจนการที่ขับรถเลนขวาแช่นานๆย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมายจราจรทางบกกล่าวไว้ว่าถนนที่มีการแบ่งเส้น 2 เลน เป็นต้นไปผู้ขับขี่จะต้องขับเลนซ้ายและห้ามผู้ขับขี่ขับรถแบบกีดขวาง
หากฝืนกฎจะมีโทษปรับ 1,000 บาทซึ่งการแบ่งช่องถนนเราก็สังเกตอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะแบ่งด้วย
เทปติดถนนสะท้อนแสงและ หมุดถนน

Placeholder image

  7. เป็นเหตุให้คนอื่นแซงด้านซ้าย มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูง
แน่นอนว่าหากเราอยู่ในเลนขวาแล้วต้องการแซงอาจจะแซงขวาต่อไม่ได้อีกทำให้หลายคนเลือกที่จะแซงด้านซ้ายมากกว่า
ซึ่งกรณีที่เลนซ้ายไม่มีรถก็ถือว่าไม่เป็นไรแต่กรณีที่มีรถอยู่เลนซ้ายด้วยรถที่แซงซ้ายไปแทรกตรงกลางก็มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก

Placeholder image


8. เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหารถติด นอกจากเรื่องของอุบัติเหตุแล้วกาขับรถแช่เลนขวานาน ๆสิ่งที่เห็นได้บ่อยคือเรื่องของรถติดเพราะรถที่ขับช้าทำให้รถที่ตาม
มาขับได้ในความเร็วที่ไม่คล่องตัว ซึ่งหากอยู่ในช่วงเทศกาลหรือบนท้องถนนมีการจราจรค่อนข้างหนาแน่น
การขับขี่ลักษณะนี้จะเป็นหนึ่งสาเหตุทำให้เกิดการจราจรติดขัด

Placeholder image


9. การเปลี่ยนเลนไปมาอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายสำหรับคนที่ขับรถเร็วและต้องตามหลังรถที่ขับช้าแต่แช่อยู่เลนขวา
ผู้ขับขี่อาจจะรู้สึกขัดใจและอยากแซง เรามักจะเห็นบ่อย ๆที่รถแซงซ้ายและสลับเลนไปมาซึ่งหากคุณสามารถควบคุมความเร็วและรถได้ดีก็ถือว่าไม่เป็นไร
แต่ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นอยู่เสมอสำหรับการขับขี่ลักษณะนี้คือผู้ขับขี่สลับเลนไม่ทัน รถเสียหลักและเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้

10. เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่ตั้งใจในการขับขี่โดยเฉพาะถนนที่เป็นถนนสายหลัก รถทางไกล
การขับแช่เลนขวานาน ๆมักเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่ได้ทั้งใจและส่วนใหญ่จะมีความรุนแรงมาก
โดยเฉพาะเมื่อเจอสิ่งกีดขวางรถจะไม่สามารถหลบได้ทันที หรือการชนท้ายหลาย ๆ คัน กรณีที่รถคันหน้าเบรกแบบกะทันหัน
เป็นต้น

บนท้องถนนจะมีการตีเส้นและปัก หมุดถนนให้เห็นอย่างชัดเจนอยู่แล้วซึ่งกฎหมายจราจรก็ได้บัญญัติถึงการขับรถแช่เลนขวาเอาไว้อย่างชัดเจน ร้านไทยจราจร มองว่าการทำตามกฎ ขับขี่อย่างมีมารยาท
เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ดี เพราะการขับขี่ไม่ใช่เพียงการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น
แต่ผู้ขับขี่จะต้องขับรถอย่างปลอดภัย ขับด้วยมารยาทและเคารพกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ขับขี่คนอื่น ๆ

ขอขอบคุณที่มา : trafficthai

10 เหตุผล ที่คุณไม่ควรขับรถแช่เลนขวา Read More »

มารยาทที่ผู้ขับรถควรรู้และปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมทาง

มารยาทที่ผู้ขับรถควรรู้และปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมทาง

สมัยนี้การถอยรถยนต์สักคันออกจากโชว์รูมไม่ใช่เรื่องยาก แต่ใช่ว่าทุกคนที่มีใบขับขี่และมีรถยนต์ จะขับรถยนต์ได้ถูกต้องตามกฎจราจร มีมารยาทในการขับรถ และให้เกียรติเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน แล้วมีเรื่องอะไรบ้าง ที่ผู้ขับรถควรรู้ ควรนำไปปฏิบัติกับเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

1. มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง

     ถนนเป็นของสาธารณะที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนใช้ร่วมกัน ฉะนั้น คุณในฐานะผู้ขับขี่คนหนึ่งควรแสดงน้ำใจต่อผู้ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกับเราด้วย อาทิ ไม่จอดแช่เลนขวา ไม่ขับรถแซงคิวแทรกเข้าตรงเชิงสะพาน ลดความเร็วเมื่อเข้าเขตชุมชน (หมู่บ้าน/ตลาด/โรงเรียน) ไม่จอดรถในที่ห้ามจอด หรือจอดรถกีดขวางการจราจร และที่สำคัญ ไม่ควรเร่งเครื่อง เมื่อเห็นว่ามีคนรอข้ามทางม้าลาย

2. ใช้ไฟสูงหรือไฟตัดหมอก เมื่อมีความจำเป็น

     ผู้ขับขี่ไม่ควรเปิดไฟสูงโดยไม่จำเป็น เนื่องจากแสงไฟจะไปรบกวนเพื่อนร่วมท้องถนน ส่วนช่วงเวลาที่ควรใช้ไฟสูงนั้น ควรเป็นตอนที่ขับรถเข้าสู่ถนนหรือเส้นทางที่มีแสงสว่างไม่พอ

     ขณะที่ไฟตัดหมอกนั้น ควรเปิดใช้ในกรณีที่มีหมอกหรือฝนตกหนัก จนทำให้ทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ต่ำลงเท่านั้น แต่หากพลั้งเผลอเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่จำเป็น แสงไฟอาจไปแยงตาผู้ขับขี่ที่ขับรถสวนเลนมา จนนำไปสู่อุบัติเหตุ เพราะแสงไฟตัดหมอก มีประสิทธิภาพความสว่างจากกว่าการเปิดไฟสูง

3. ไม่ควรเหยียบเบรกบ่อย

     เนื่องจากสภาพการจราจรที่คับคั่งในเมืองกรุง ประกอบกับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์ต้องค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทีละนิด ส่งผลให้รถหลายครั้งต้องคอยแตะเบรกตลอด ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ไม่ต่างไปจากปฏิกิริยาลูกโซ่ เพราะเมื่อรถคันหนึ่งเหยียบเบรก รถที่ขับตามมาก็ต้องเหยียบเบรกด้วยเช่นกัน และพฤติกรรมเหยียบเบรกบ่อย ๆ ยังอาจทำให้ระบบเบรกของรถคุณเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ เป็นผลให้รถของคุณมีความเสี่ยงจะ “เบรกแตก” สูงตามไปด้วย

4. ไม่ควรขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า

     การขับรถแบบจี้ท้ายคันหน้า เสี่ยงต่อการชนท้ายเป็นอย่างมาก และหากเกิดขึ้นผู้ที่ขับรถชนท้ายมักจะเป็นฝ่ายผิด ฉะนั้น คุณควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าตามระยะเบรกที่ปลอดภัย

     โดย “ระยะเบรกที่ปลอดภัย” นั้น อาจพิจารณาตามสภาพแวดล้อมก็ได้ อาทิ คุณกำลังขับรถขึ้นดอยม่อนแจ่ม ที่เป็นเนินชัน และมีจุดโค้งหักศอก ก็ควรทิ้งระยะห่างจากคันหน้าในระยะทางที่มากกว่าเดิม จากเว้นระยะ 20-30 เมตร ขยับมาเป็น 50-60 เมตร หรืออาจมากกว่านั้น เพื่อป้องกันกรณีที่รถคันหน้าไหลถอยหลังมาชนคุณ

5. รู้จักขอบคุณและขอโทษเพื่อนร่วมทาง

     เมื่อเจอเพื่อนร่วมทางที่มีน้ำใจต่อเรา ไม่ว่าจะช่วยให้ทางหรือช่วยหรี่ไฟสูงลงมา ก็ควรแสดงความขอบคุณด้วยการโค้งศีรษะและยิ้มให้ หรือจะใช้วิธีเปิดไฟกระพริบฉุกเฉินก็ได้

     ในทางกลับกัน เมื่อมีรถหยุดให้คุณเดินข้ามถนน ก็ควรโค้งศีรษะขอบคุณเช่นกัน แม้การแสดงความขอบคุณกับเพื่อนร่วมทางอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็สามารถสร้างความรู้สึกดี ๆ บนท้องถนนได้

     แล้วถ้าเป็นกรณีที่เราเผลอทำพฤติกรรมที่ไม่ดี อย่างเปลี่ยนเลนกะทันหัน ขับรถตัดหน้ารถคันอื่นล่ะ หากเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ควรทำเพื่อลดความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การทะเลาะวิวาท คือ การโค้งศีรษะ ยกมือ หรือเปิดไฟกระพริบ เพื่อขอโทษเพื่อนร่วมทาง แต่หากบังเอิญรถของคุณติดฟิล์มดำมืดจนมองไม่เห็นว่า มีใครอยู่บนรถบ้าง ก็อาจใช้วิธีเปิดกระจกเพื่อขอบคุณหรือขอโทษก็ได้

6. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้ง เมื่อต้องการเปลี่ยนเลน

     ผู้ขับขี่ทุกคน ควรย้ำกับตัวเองบ่อย ๆ ว่า รถของเรามีไฟเลี้ยวที่สามารถเปิดใช้งานได้จริง ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือเปลี่ยนเลน ก็ต้องเปิดไฟเลี้ยวก่อนทุกครั้ง เพื่อให้รถคันอื่น ๆ ชะลอให้รถของคุณเข้าไปยังเส้นทางที่ต้องการ ไม่ใช่ใจนึกอยากจะไป ก็ไปได้ทันที นอกจากเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุแล้ว คุณจะยังได้เสียงก่นด่าไปถึงบรรพบุรุษตามหลังมาแน่ ๆ

7. ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร

     ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าลักไก่กลับรถในที่ห้ามกลับรถ หรือเบี่ยงจากช่องทางหลักเข้าช่องคู่ขนาน ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า จุดดังกล่าวมีเครื่องหมายจราจรระบุให้ รถที่วิ่งในช่องคู่ขนานสามารถเบี่ยงเข้าช่องทางหลักเท่านั้น

     พฤติกรรมชอบฝ่าฝืนกฎจราจรเหล่านี้ นอกจากสร้างความสงสัยกับเพื่อนร่วมทางว่า คุณซื้อใบขับขี่ มาหรืออย่างไร ? ยังเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และหากเกิดเหตุขึ้นจริง นอกจากเจ็บตัว รถพัง เจอทั้งโทษจำคุกหรือปรับ และถ้าร้ายแรงมาก ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิต (อาจเป็นคุณ/คู่กรณี) ได้

8. เมาแล้วขับ

     “เมาแล้วขับ” เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่จะนำพาเรื่องเลวร้ายชนิดคาดไม่ถึงมาสู่ตัวคุณ ครอบครัว และเพื่อนร่วมทางได้ง่ายดายที่สุด ดังนั้น หากรู้ตัวว่า “เมา” ก็ควรใช้บริการรถสาธารณะในการเดินทาง หรือคุณจะโทรให้คนที่ไว้ใจมารับแทนการขับรถเองก็ได้

9. เล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ

     รู้หรือไม่ว่า การเล่นโทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ติดไฟแดง หรือรถติดเพราะมีอุบัติเหตุกีดขวางการจราจร ล้วนเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทั้งสิ้น เนื่องจากสมาธิที่ควรเพ่งอยู่กับการขับรถ ถูกย้ายไปอยู่กับโทรศัพท์มือถือแทน

บางคนอาจคิดว่า “ทำแบบนี้อยู่บ่อย ๆ ไม่เห็นเป็นอะไรเลย” หรือ “รถติดแบบนี้ ใคร ๆ ก็หยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเล่นทั้งนั้น” หากคุณกำลังคิดเช่นนี้ ขอเตือนเลยว่า คุณกำลังประมาทอย่างแรง เพราะขนาดผู้ที่มีประสบการณ์ขับรถมานับ 10 ปี ก็ยังประสบอุบัติเหตุได้เลย

     ที่สำคัญคุณอาจลืมไปว่า ต่อให้คุณระมัดระวังเพียงใด ก็ไม่ได้รับประกันว่า เพื่อนร่วมทางของคุณจะขับรถอย่างระมัดระวังเช่นกัน

ฉะนั้น เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ คุณควรงดเล่นโทรศัพท์มือถือ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้งานโทรศัพท์มือถือจริง ๆ ก็ให้หาจุดที่ปลอดภัยเพื่อจอดรถเสียก่อน

10. ขับรถคร่อมเลน

     คือ การขับรถคร่อมเลนกินพื้นที่จราจร จะไปซ้าย ก็ไม่ซ้าย จะไปขวา ก็ไม่ขวา พฤติกรรมแบบนี้ ไม่น่ารอดจากการโดนด่า หรือไปรบกวนการขับของรถคันอื่น

     ดังนั้น ทุกครั้งที่เข้าไปนั่งอยู่หลังพวงมาลัย ขอให้คุณใส่ใจความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมทางให้มาก ๆ เพราะไม่ว่าใครก็มีคนที่รักรออยู่ที่บ้านทั้งนั้น

ขอขอบคุณข้อมูล : tonkit360

มารยาทที่ผู้ขับรถควรรู้และปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมทาง Read More »

ขับรถทางไกล – ระยะทางที่ควรหยุดพัก

เวลาขับรถเดินทางไกลๆ เพื่อนๆ วางแผนแวะพักกันอย่างไรบ้างครับ? วันนี้เรามีทริคเล็กๆ น้อยๆ มาแนะนำกัน

  • เมื่อเราขับไปถึงประมาณ 150 – 200 กม. หรือ 2 ชั่วโมง จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการจอดพัก ยืน เดิน ยืดเส้นคลายกล้ามเนื้อ แวะพักรับประทานอาหารและเข้าห้องน้ำ ใช้เวลาพักประมาณ 15-20 นาที แล้วออกเดินทางต่อ ก็จะทำให้ร่างกายไม่เกิดการเหนื่อยล้าสะสม
  • หากขับรถต่อไปถึง 3 ชั่วโมง ช่วงเวลานี้ร่างกายจะเริ่มเกิดความเหนื่อยล้าสะสม และไม่ใช่แค่เพียงร่างกายเราที่ต้องการพัก รถยนต์ที่ขับต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ก็ควรต้องจอดพักเครื่องยนต์ ระบายความร้อนสะสมและผ่อนคลายจากแรงเค้นต่างๆ ควรใช้เวลาพักอย่างน้อย 15-30 นาที
  • หากขับต่อเนื่องไปจนถึง 4 ชั่วโมง หรือเกิน 300 กม. ควรจอดพักทันที อย่างน้อย 30-60 นาที หรือสลับคนขับ อาจเกิดเหตุอันตรายถ้าฝืนขับต่อไป เสี่ยงต่อการหลับใน และทำให้ตัดสินใจช้าลง

ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุด หากมีเพื่อนคุยระหว่างทาง และคอยสลับกันขับ จะช่วยให้มีสติมากยิ่งขึ้น
รู้หรือไม่…การอดนอนส่งผลให้การตัดสินใจและการตอบสนองช้าลง หากอดนอนเป็นเวลา 17-19 ชม. เปรียบเหมือนร่างกายมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 0.05%

ขอขอบคุณข้อมูล : safedrivedlt

ขับรถทางไกล – ระยะทางที่ควรหยุดพัก Read More »

มือใหม่หัดขับ กับข้อควรรู้และปฏิบัติตาม ในการใช้รถใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น เพื่อความปลอดภัยและถูกกฏจราจร

มือใหม่หัดขับ ถือว่าเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะยังขาดประสบการณ์ และความชำนาญ ดังนั้น วันนี้ TZ (trainingzenter)เราจึงได้รวบรวมสิ่งที่นักขับหน้าใหม่ควรรู้ก่อนที่จะเริ่มลงสู่ท้องถนนจริง เพื่อเพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุแก่ตนเองหรือกับเพื่อนร่วมทาง มาแนะนำดังนี้

ศึกษาและรู้จักระบบต่าง ๆ ของตัวรถ

          ก่อนที่จะเริ่มออกรถ เราควรทำความรู้จักส่วนต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการใช้งานให้ดี เช่น ตำแหน่งปรับเปลี่ยนเกียร์อยู่ที่จุดไหน ตำแหน่งปัดน้ำฝน รวมถึงสวิทซ์ไฟอยู่ฝั่งไหน ตำแหน่งล็อกรถ ตำแหน่งของที่ปรับกระจกมองข้าง รวมถึงปุ่มสตาร์ทรถ และต้องรู้ด้วยว่ารถที่ขับอยู่นั้นเติมน้ำมันฝั่งใด และเปิดฝาน้ำมันอย่างไรเมื่อไปเติมน้ำมันที่ปั๊ม เพราะแต่จุดของรถแต่ละรุ่นนั้น จะมีความแตกต่างกัน และการวางตำแหน่งที่ไม่เหมือนกัน

ปรับระยะที่นั่งของตัวเบาะ และจัดตำแหน่งของพวงมาลัย

          ก่อนที่จะสตาร์ตรถ ควรปรับระยะการนั่ง ปรับตำแหน่งพวงมาลัยรถยนต์ ให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งตามมาตรฐานการปรับตำแหน่งที่นั่ง ไม่ควรชิดหรือห่างจากพวงมาลัยมากเกินไป ตำแหน่งที่เหมาะสม ควรนั่งหลังชิดเบาะแล้วยืนแขนสองข้างไปด้านหน้า แล้ววางแขนทั้ง 2 ข้างไปบนพวงมาลัย ให้ตำแหน่งของพวงมาลัยอยู่ที่ข้อมือ จะเป็นตำแหน่งที่สามารถควบคุมพวงมาลัยได้ดีที่สุด รวมถึงการเช็กตำแหน่งเข่าที่ไม่ให้ยืดจนเกินไป เพื่อให้สามารถควบคุมคันเร่ง เบรก และคลัตช์ได้อย่างง่ายดาย

ปรับตำแหน่งกระจกมองหลัง และกระจกมองข้าง

          ควรปรับให้มองเห็นภาพด้านหลังในมุมที่กว้าง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ขับขี่เห็นด้านข้างและด้านหลังครอบคลุม ส่วนกระจกมองข้างฝั่งซ้ายหรือฝั่งผู้โดยสารตอนหน้า ต้องปรับเช่นเดียวกับกระจกฝั่งคนขับ ซึ่งการปรับกระจกมองข้างทั้งสองด้านนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้เห็นตัวรถมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดจุดบอดในการมองเห็น ซึ่งก็คือ บริเวณพื้นที่ ที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นด้วยสายตา เพราะมีสิ่งบดบังทัศนวิสัยในการมองเห็นรอบรถ

ข้อแนะนำเพิ่มเติมที่ควรรู้

          ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ต้องปฏิบัติตามกฎจราจร อาทิ ไม่ขับแช่เลนขวา ที่กำหนดความเร็วในการขับขี่ไม่ต่ำกว่า 100-120 กม./ชม. และไม่ควรขับชิดกับคันหน้ามากเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุจากการเบรกกะทันหันได้ และไม่เหยียบคันเร่งเมื่อสัญญาณไฟกำลังเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง

          อย่าลืมใช้สัญญาณไฟเลี้ยว สัญญาณไฟเลี้ยวเป็นสิ่งจำเป็น ห้ามลืมใช้เป็นอันขาดเพราะจะเป็นการบอกเพื่อนร่วมทางให้ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนเลน หรือเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ควรเปิดไฟสัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่รถคันอื่น เห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร  นอกจากนั้นไม่เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินตรงทางแยก เพราะรถคันอื่นไม่ทราบว่าคุณต้องการเลี้ยวหรือจะขับตรงไป

          อย่าใช้ความเร็วมากเกินกำหนด ควรขับขี่ตามความเหมาะสม ด้วยความเร็วกฎหมายกำหนด เพราะยังไม่มีความชำนาญ อาจทำให้สูญเสียการควบคุมรถได้ โดยความเร็วตามกฎหมายกำหนดนั้น ถ้าเป็นในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเขตเทศบาลทุกจังหวัด จะให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. ส่วนในทางหลวงชนบท (ทางหลวงระหว่างจังหวัด) ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. ส่วนเส้นทางมอเตอร์เวย์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กม./ชม.

          ฝึกใช้สัญญาณเตือนให้เป็น อาทิ การบีบแตร หรือกระพริบไฟสูง เพื่อเป็นการสื่อสารให้ผู้ขับร่วมทางเดียวกันได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขอเส้นทาง หรือการเตือนโดยใช้สัญญาณไฟสูงกระพริบ แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

          เว้นระยะรักษาความห่างกับรถคันอื่น ไม่ควรขับจี้รถคันหน้ามากเกินไป ควรเว้นระยะะรักษาความห่าง อย่างเหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายกันได้ ควรต้องเว้นระยะห่างไว้อยู่ที่ประมาณ 5 เมตรเป็นอย่างต่ำ แต่ถ้าในสภาพภูมิอากาศที่แย่ หรือมองเห็นไม่ชัด ควรเพิ่มระยะห่างให้มากขึ้นเป็น 2- 3 เท่า หรืออย่างน้อย 15 – 20 เมตร

มือใหม่หัดขับ ควรรู้อะไรบ้าง

          สมาธิในการขับรถต้องมีตลอดเวลา ทั้งมือเก่า หรือมือใหม่หัดขับ สิ่งที่สำคัญสำหรับการขับขี่คือ สมาธิ ไม่ควรใช้มือถือในขณะขับรถ รวมถึงการเปิดเพลงเสียงดังมาก ๆ เพราะอาจทำให้ไม่มีมีสมาธิในการขับขี่

          สติกเกอร์มือใหม่ ควรต้องมี สติกเกอร์มือใหม่ควรต้องมีติดไว้หลังรถ เพราะจะเป็นสัญลักษณ์บอกผู้ร่วมทางที่ใช้ถนนอยู่ว่า รถคันนี้เป็นมือใหม่หัดขับ เพื่อเตือนรถคันอื่นรอบข้างให้มีความระมัดระวัง

          สำหรับมือใหม่หัดขับ นอกจากเคล็ดลับที่บอกไปเบื้องต้นนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดของการขับรถ นั้นควรมีสติอยู่ตลอดเวลา ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาททุกครั้งเมื่ออยู่หลังพวงมาลัย พร้อมกับปฏิบัติตามกฎจราจร และเมาไม่ขับ ถ้าปฎิบัติตามนี้แล้วก็จะสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัยในทุกเส้นทาง

ขอบคุณข้อมูลจาก : kapook

มือใหม่หัดขับ กับข้อควรรู้และปฏิบัติตาม ในการใช้รถใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น เพื่อความปลอดภัยและถูกกฏจราจร Read More »

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับการขับรถยนต์

วันนี้ TZ (trainingzenter) จะมาแนะนำ การมีรถยนต์หนึ่งคันสิ่งที่ตามมานั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษา ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการใช้รถบนท้องถนน  ยิ่งในยุคนี้ด้วยแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้เมื่อเรานั่งอยู่หลังพวงมาลัย เราลองมาดู 10 เรื่องน่ารู้ในการขับรถยนต์ที่รู้แล้ว จะทำให้คุณใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย

1. มีสมาธิกับการขับ เทคนิคขับรถที่ปลอดภัยคือ จะต้องใช้สายตาสาดส่ายไปมา ทั้งกระจกมองหลัง กระจกมองข้างทั้ง 2 ข้าง ไม่ว่าจะเป็นในการเปลี่ยนช่องเดินทางรถ หรือแม้แต่ขับรถทางตรง ต้องเหลือบตามองเป็นระยะให้สม่ำเสมอ การละสายตาไปมองอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นระบบนำทาง ปรับเครื่องเสียง เพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงงดเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่รถเคลื่อนที่อยู่ และอย่าลืมละสายตามามองที่หน้าปัดบ้าง

2. ร่างกายต้องการของหวาน การนั่งขับรถเป็นเวลานาน ๆ ร่างกายมีความตื่นตัวตลอดทั้งสายตา แขน มือ ขาและเท้า ทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้แนะนำให้กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่างลูกแพร์หรือแอปเปิล และดื่มน้ำเปล่าตาม

การรับประทานอะไรแก้ง่วงระหว่างขับรถ ช่วยให้ร่างกายกะปรี้กะเปร่าได้ดี

3. วอร์มคนก่อนออกรถ ก่อนที่จะออกรถให้คุณนั่งหลังตรงแล้วยืดศีรษะขึ้นให้สูงที่สุดพร้อม ๆ กับดันศีรษะไปที่พนักพิง ทำท่านี้ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นค่อยผ่อนคลายลง ทำซ้ำทั้งหมด 5 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยปรับท่านั่งขับรถของคุณให้ถูกต้องขึ้น และช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังให้ทำงานและปรับกระดูกสันหลังให้ตรงคุณจึงไม่เมื่อยคอขณะขับรถ

4. ขับรถแล้วปวดหลัง หลายคนมีปัญหากับพนักพิงหลังเบาะรถ ไม่ว่าจะอ่อนไปหรือแข็งไปบ้าง แนะนำให้หาตัวรองหลังสำหรับเบาะนั่งรถยนต์ มาหนุนหลัง หรือจะใช้หมอนใบขนาดพอเหมาะมารองแทนก็ได้ ยิ่งคุณประคองกระดูกสันหลังได้มากเท่าไรโอกาสที่จะปวดหลังยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น

5. มองถนนให้ไกล อีกหนึ่งพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดีคือการจ้องมองพื้นถนนข้างหน้ารถหรือท้ายรถคันหน้า ทางที่ดีคุณควรฝึกมองไปข้างหน้าไกล ๆ อย่างเช่น ขณะที่เข้าโค้งก็ให้มองจุดออกจากโค้ง การมองแบบนี้ อาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนจะหลุดออกไปนอกถนน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเพราะการมองเห็นทั้งโค้ง จะช่วยให้คุณเข้าโค้งตามไลน์ได้ถูกต้อง

6. ปรับแอร์ให้เป็น เคล็ดลับขับรถอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนมองข้าม เวลาขับรถในเมืองให้ปรับแอร์เป็นระบบหมุนเวียน เพื่อป้องกันกลิ่นไอเสีย หรืออากาศร้อนจากห้องเครื่องเมื่อรถติดเข้ามาในรถ ทำให้แอร์ทำงานหนักมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อต้องการขับรถทางไกล และมีผู้โดยสารอยู่หลายคน ทำให้อากาศภายในหมุนเวียนภายในไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะมีอาการง่วงนอนได้ ให้เปิดระบบเอาอากาศข้างนอกเข้ามาเป็นระยะ ๆ

7. นั่งทับกระเป๋าตังค์ใช่ว่าดี หลายๆ คนชอบเอากระเป๋าตังค์ไว้ที่กระเป๋าหลังกางเกง โดยเฉพาะผู้ชาย แล้วไปนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ จะทำให้สะโพกสองข้างหนาไม่เท่ากัน เวลานั่งบนเบาะกระดูกสันหลังก็เลยคดและส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก รวมถึงยังเป็นการเพิ่มแรงกดลงบนเส้นประสาทบริเวณกระดูกสะโพกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง

8. ลดน้ำหนักรถ หลายคนชอบเอาของใช้มาไว้ในท้ายรถ เป็นการเพิ่มน้ำหนักรถโดยไม่จำเป็น และจะทำให้อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันนั้นสูงขึ้นไปด้วย ควรเอาของใช้ออกจากรถบ้าง รวมถึงอุปกรณ์เสริมติดรถที่ใช้เป็นบางเวลา อย่างเช่น แร็คติดจักรยาน ที่วางสัมภาระบนหลังคา เมื่อไม่ได้ใช้ก็ควรถอดออก

ปรับเบาะไฟฟ้าให้ถูกสรีระของตัวเอง ช่วยให้ขับรถนานๆ ได้ไม่เมื่อยล้า

9. ปรับเบาะที่นั่ง บรรดาผู้ใช้รถเอสยูวี หรือรถอเนกประสงค์ทั้งหลาย ที่จะมีตัวรถที่สูง ตำแหน่งผู้ขับขี่จะสูงตามไปด้วย เมื่อตำแหน่งที่สูงการมองเห็นจะกว้างกว่าปกติ เวลาขับแล้วจะรู้สึกว่ารถเราไปช้าจะคอยเติมคั่นเร่งอยู่ตลอด ซึ่งแตกต่างจากจากรถที่ต่ำ จะเห็นระนาบถนนมากกว่า จะรู้สึกว่าขับเร็วอยู่ ผู้ใช้รถเอสยูวี ควรลองปรับลดระดับเบาะนั่งให้ต่ำที่สุดแล้วลองขับดู จะได้ความรู้สึกความเร็วเสมือนจริงมากขึ้น

10. อย่าขับรถจี้ท้าย การขับจี้ท้ายรถคันหน้าทำให้รถติด ซึ่งคนขับรถจะต้องเหยียบเบรคบ่อยเกินเหตุเวลาขับจี้ท้าย ดังนั้นรถคันหลังที่ขับตามมาก็จะต้องเหยียบเบรคตามไปด้วย ทุกคนเลยขับรถกระตุกแบบเหยียบเบรคแล้วก็ปล่อยตามกันไปเป็นแถว ทำให้การขับรถไม่ต่อเนื่องไม่สามารถใช้ความเร็วคงที่ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : roojai

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับการขับรถยนต์ Read More »

ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ กำลังเป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่เป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่และซ้อนท้าย เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ !! จนถึงขั้นบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตสูงขึ้น ? วันนี้ TZ (trainingzenter) สถาบันสอนขับรถ ต่อใบขับขี่ เรียนขับรถ ความห่วงใยมาถึงทุกคนที่ใช้รถ ใช้ถนน ร่วมกันค่ะ

1. การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการชนและเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่า 20 เท่า เพราะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง

2. การคุยโทรศัพท์ระหว่างการขับขี่ เพิ่มโอกาสการเบรกกะทันหัน เพราะผู้ขับขี่ไม่ทันสังเกตป้ายเตือนหรือสัญญาณไฟ ที่ต้องเตรียมชะลอความเร็วจากระยะไกล ทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนจากรถที่ขับตามมาจนเกิดการเฉี่ยวชนกันได้

3. เนื่องจากต้องละสายตาออกจากเส้นทางเฉลี่ย 4.6 วินาที ซึ่งระหว่างที่ละสายตานั้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา

4.โทรศัพท์ขณะขับขี่ผิดกฎหมายและมีโทษ หากคุณใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท และถูกตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน

พรบ.จราจรทางบก มาตรา 43 (9)แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่13) พ.ศ. 2565  ห้ามผู้ขับขี่ขับรถขณะใช้โทรศัพท์ ยกเว้นการใช้โทรศัพท์โดยไม่ต้องถือหรือจับ หากจำเป็นต้องคุยโทรศัพท์เพื่อติดต่อธุระหรือนัดหมาย ควรเลือกวิธีการ ต่อไปนี้

ใช้หูฟัง อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา โดยสวมเพียงข้างเดียว เพื่อให้สามารถได้ยินเสียงรถ หรือรับรู้ถึงอันตรายบนท้องถนนได้ หรือเปิดลำโพงสนทนา โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่

  • ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับยึดหรือติดโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้กับส่วนหน้าของตัวรถทุกครั้งก่อนการขับรถ ทั้งนี้ต้องไม่บดบังทัศนวิสัยหรือเสียความสามารถในการขับรถ
  • หากผู้ขับขี่มีความจำเป็นต้องถือ จับ หรือสัมผัสโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้งานโดยประการใดๆ ให้ผู้ขับขี่หยุดหรือจอดรถในสถานที่สำหรับจอดรถอย่างปลอดภัยก่อนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว

ขอขอบคุณข้อมูล : ขับขี่ปลอดภัยbyDLT

การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ กำลังเป็นภาพที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่เป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่และซ้อนท้าย เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ !! จนถึงขั้นบาดเจ็บ พิการและเสียชีวิตสูงขึ้น ? วันนี้ ID Driver สถาบันสอนขับรถ ต่อใบขับขี่ เรียนขับรถ ความห่วงใยมาถึงทุกคนที่ใช้รถ ใช้ถนน ร่วมกันค่ะ

1. การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการชนและเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นกว่า 20 เท่า เพราะทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง

2. การคุยโทรศัพท์ระหว่างการขับขี่ เพิ่มโอกาสการเบรกกะทันหัน เพราะผู้ขับขี่ไม่ทันสังเกตป้ายเตือนหรือสัญญาณไฟ ที่ต้องเตรียมชะลอความเร็วจากระยะไกล ทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนจากรถที่ขับตามมาจนเกิดการเฉี่ยวชนกันได้

3. เนื่องจากต้องละสายตาออกจากเส้นทางเฉลี่ย 4.6 วินาที ซึ่งระหว่างที่ละสายตานั้น จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา

4.โทรศัพท์ขณะขับขี่ผิดกฎหมายและมีโทษ หากคุณใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท และถูกตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน

.

พรบ.จราจรทางบก มาตรา 43 (9)แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่13) พ.ศ. 2565  ห้ามผู้ขับขี่ขับรถขณะใช้โทรศัพท์ ยกเว้นการใช้โทรศัพท์โดยไม่ต้องถือหรือจับ หากจำเป็นต้องคุยโทรศัพท์เพื่อติดต่อธุระหรือนัดหมาย ควรเลือกวิธีการ ต่อไปนี้

ใช้หูฟัง อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา โดยสวมเพียงข้างเดียว เพื่อให้สามารถได้ยินเสียงรถ หรือรับรู้ถึงอันตรายบนท้องถนนได้ หรือเปิดลำโพงสนทนา โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่

  • ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับยึดหรือติดโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้กับส่วนหน้าของตัวรถทุกครั้งก่อนการขับรถ ทั้งนี้ต้องไม่บดบังทัศนวิสัยหรือเสียความสามารถในการขับรถ
  • หากผู้ขับขี่มีความจำเป็นต้องถือ จับ หรือสัมผัสโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อใช้งานโดยประการใดๆ ให้ผู้ขับขี่หยุดหรือจอดรถในสถานที่สำหรับจอดรถอย่างปลอดภัยก่อนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว

ขอขอบคุณข้อมูล : ขับขี่ปลอดภัยbyDLT

ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ Read More »

เรียนรู้เหตุฉุกเฉิน เมื่อสัตว์ตัดหน้ารถ

  • สัตว์ขนาดใหญ่ ชะลอความเร็วหรือหยุดรถ รอให้สัตว์เดินผ่านไปก่อน ห้ามใช้เสียงแตร จะทำให้สัตว์ตื่นตกใจ
  • สัตว์ขนาดเล็ก (สุนัข แมว) ให้บีบแตรจังหวะสั้นๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อเตือนให้สัตว์ออกจากเส้นทาง ไม่บีบแตรยาวต่อเนื่อง สัตว์จะตื่นตกใจจนคาดคะเนทิศทางการเดินหรือวิ่งไม่ได้
  • กรณีสัตว์วิ่งตัดหน้ารถ ระยะกระชั้นชิด ตั้งสติ จับพวงมาลัยให้มั่น ไม่หักหลบไปทิศทางอื่น จะทำให้รถเสียหลัก เกิดอุบัติเหตุรุนแรงได้
  • พบช้างป่าบนถนน

หยุดรถให้ห่างในระยะไม่ต่ำกว่า 30 เมตร

– หากช้างเดินเข้าหา ให้ขับรถถอยหลังอย่างช้าๆ รอจนกว่าช้างเดินพ้นระยะถนนไป

– ไม่บีบแตรหรือส่งเสียงดัง

– ไม่จอดรถลงไปถ่ายรูปกับช้าง

ขับขี่ปลอดภัย มองเส้นทางให้รอบด้าน สังเกตป้ายเตือนระวังสัตว์ ใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด ลดอุบัติเหตุกันค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ขับขี่ปลอดภัย by DLT

เรียนรู้เหตุฉุกเฉิน เมื่อสัตว์ตัดหน้ารถ Read More »

เบรคมอเตอร์ไซค์ออโต้ มีกี่แบบ และใช้อย่างไรจึงปลอดภัย

เบรมอเตอร์ไซค์ออโต้ มีกี่แบบ และใช้อย่างไรจึงปลอดภัย
เรื่องความเร็วถือว่าสำคัญอย่างมากเมื่อขี่มอเตอร์ไซค์บนท้องถนน ไม่ใช่แค่รถต้องเร็วต้องแรงเท่านั้น แต่ยังต้องหยุดเมื่อควรหยุดและควบคุมความเร็วให้เหมาะสมได้ ซึ่งเรื่องนั้นต้องอาศัยระบบเบรคที่มีประสิทธิภาพ และเมื่อพูดถึงระบบเบรคเราก็มีเรื่องน่ารู้มาฝากอีกเช่นเคย

เชื่อว่าหลายคน (รวมถึงคนที่ขี่มอเตอร์ไซค์ทุกวัน) ยังไม่รู้จักระบบเบรคมอเตอร์ไซค์ดีพอ ไม่รู้ว่าเบรคมอเตอร์ไซค์มีกี่ประเภท รวมถึงยังไม่รู้ด้วยว่ามอเตอร์ไซค์ก็มีวิธีเบรคที่ถูกต้องและปลอดภัยด้วย

ระบบเบรมอเตอร์ไซค์
ระบบเบรคมอเตอร์ไซค์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ระบบได้แก่ เบรคหน้า เบรคหลัง และเบรคด้วยเครื่องยนต์ หรือ Engine Brake โดยทั้ง 3 ระบบ จะแตกต่างกันที่ลักษณะการใช้งาน ดังนี้

1.เบรหน้า (Front Brake)
เบรคหน้า เป็นระบบเบรคมอเตอร์ไซค์ที่มีประสิทธิภาพในการชะลอความเร็วและหยุดรถมากที่สุด เหมาะกับการเบรคที่ไม่ต้องการระยะเบรคมากนัก โดยก้านเบรคหน้าจะติดตั้งอยู่ที่แฮนด์ด้านขวาของผู้ขับขี่ ระบบเบรคหน้าทำงานโดยส่งแรงบีบจากก้านเบรกไปตามสายเพื่อสูบฉีดน้ำมันเบรคไปยังคาลิเปอร์ให้บีบผ้าเบรคเข้ากับจานเบรค

เมื่อต้องเบรคแบบกะทันหันการบีบก้านเบรคหน้าเบาๆ แล้วลงน้ำหนักช้าๆ จนรถหยุดก็เพียงพอแล้ว และการบีบก้านเบรคหน้าแบบเต็มแรงมือไปเลยนั้นก็มีโอกาสที่รถมอเตอร์ไซค์จะเสียหลักได้

2. เบรหลัง (Rear Brake)
ระบบเบรคหลังจะมีประสิทธิภาพในการหยุดรถมอเตอร์ไซค์น้อยกว่าระบบเบรคหน้า แต่ส่วนมากจะใช้เพื่อชะลอความเร็วของรถจึงเหมาะกับการเบรคที่ต้องเผื่อระยะเบรคมากหน่อย ไม่แนะนำให้ใช้ในกรณีที่ต้องเบรคแบบกะทันหันเพราะถ้าผู้ขับขี่กะระยะเบรคผิดรถอาจจะหยุดไม่ทันและเกิดอุบัติเหตุได้ โดยระบบเบรคหลังจะติดตั้งอยู่ที่แฮนด์ด้านซ้ายของผู้ขับขี่

3. เบรด้วยเครื่องยนต์ (Engine Brake)
ระบบนี้เป็นการชะลอความเร็วด้วยแรงฉุดของรอบเครื่องยนต์ที่ตกลงจากรอบปัจจุบันหลังจากเราปล่อยคันเร่ง เป็นกลไกของเครื่องยนต์ สามารถชะลอความเร็วได้โดยไม่ต้องบีบก้านเบรก แต่ถ้าต้องการหยุดรถก็ยังจำเป็นต้องใช้ระบบเบรคอื่นๆ ร่วมด้วย

เบรอย่างไรให้ปลอดภัย ?
รถเสียหลัก คือเรื่องที่เกิดขึ้นได้จากการหยุดรถแบบกะทันหัน และจากลักษณะการใช้งานของระบบเบรคมอเตอร์ไซค์ทั้ง 3 ระบบ ที่พูดไปแล้วนั้น จะเห็นว่าสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อใช้งานเบรคก็คือ น้ำหนักในการบีบก้านเบรกและการกะระยะเบรคให้เหมาะสม ซึ่งทั้ง 2 อย่างอาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคนที่ชั่วโมงบิดสูง ขี่มอเตอร์ไซค์และกำเบรคจนชินมือ แต่สำหรับคนที่ยังต้องการคำแนะนำอยู่ เราแนะนำให้ออกแรงบีบก้านเบรคเพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการหยุดรถด้วยเบรคหน้า และให้ออกแรงบีบก้านเบรคประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการหยุดรถด้วยเบรคหลัง และควรเพิ่มการกะระยะเบรคให้มากขึ้นกว่าปกติ

ขอบคุณข้อมูลจาก : yamahataworn

เบรคมอเตอร์ไซค์ออโต้ มีกี่แบบ และใช้อย่างไรจึงปลอดภัย Read More »

สัญญาณเตือน! เปลี่ยนยางรถมอเตอร์ไซค์

วันนี้ TZ (trainingzenter) มีเคล็ดลับ แนะนำเกี่ยวกับ ยางรถจักรยานยนต์โดยปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 ปี หรือ 10,000-20,000 กม. ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับขี่ สภาพถนนที่ขับเป็นประจำทุกวัน และประเภทของยางที่ใช้ด้วย วันนี้จึงรวบรวมวิธีสังเกตความพร้อมยางเพื่อให้ผู้ขับขี่รู้ก่อนเปลี่ยนก่อน ปลอดภัยกว่า

  1. ลมยางอ่อนเร็วกว่าปกติ ต้องเติมลมยางบ่อย อาจเกิดจากการขับผ่านถนนที่ขรุขระจนทำมห้ผิวยางด้านนอกเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ยางในเสียหาย
  2. ดอกยางสึกไม่เท่ากัน หน้ายางสัมผัสพื้นผิวถนนไม่เท่ากัน รีบเปลี่ยน เพราะความสามารถในการยึดเกาะถนนลดลง
  3. ดอกยางโล้น อาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่าปกติ เพราะยางรถจะเกาะพื้นถนนได้ไม่ดีเท่ายางที่มีดอกยางสมบูรณ์ อันตราย! ให้รีบเปลี่ยนยางใหม่ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
  4. รถเฉไปทางใดทางหนึ่ง สัญญาเตือนว่ายางรถมีปัญหาเกิดการสึกของยางไม่เท่ากัน จึงทำให้การขี่ในแต่ละครั้งรถจะเฉไปยังฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นพิเศษ
  5. รถแฉลบ รถเหิน ไม่เกาะถนน เนื่องจากความลึกของดอกยางเหลือน้อย การยึดเกาะจึงแย่ลง ทำให้ควบคุมได้ยาก และเกิดการไถลเมื่อเบรกกะทันหัน
  6. รถกระเด้งกระดอนตลอดเวลา อาจเป็นเพราะเนื้อยางเสื่อมสภาพ แข็งจนเกินไปจึงทำให้เกิดภาวะกระเด้งกระดอนระหว่างการขับขี่มากขึ้น

แนะนำวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น

  • ทำการตรวจเช็กลมยางอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งและควรเติมลมยางประมาณเดือนละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย
  • ทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่ติดค้างอยู่คาล้อ เช่น หิน กรวด ลวด ตะปู ของแข็งแหลม เป็นต้น
  • ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง บนสภาพถนนที่มีทางขรุขระ หลุมบ่อหรือร่องถนน

หากดูแลอย่างสม่ำเสมอและขับขี่อย่างระมัดระวัง นอกจากเป็นการดูแลยางรถให้ใช้งานได้นานขึ้นแล้วยังรวมถึงทำให้ผู้ขับขี่ได้ใช้รถอย่างปลอดภัยอีกด้วย

ขอบคุณที่มาจาก : safedrivedlt

สัญญาณเตือน! เปลี่ยนยางรถมอเตอร์ไซค์ Read More »

เทคนิคเข้าโค้งให้ปลอดภัย ขับรถตอนฝนตกให้ระวัง

เทคนิคเข้าโค้งให้ปลอดภัย ขับรถตอนฝนตกให้ระวัง

วันนี้ พี่ TZ (trainingzenter) เรามี เทคนิคการขับรถเข้าโค้ง ให้ปลอดภัยในช่วงหน้าฝนนี้มาฝากกันนะคะ

  • สังเกตป้ายจราจร ก่อนถึงทางโค้ง คาดการณ์ลักษณะทางโค้งข้างหน้า
  • จับพวงมาลัยด้วยมือสองข้าง มีสมาธิมากขึ้น เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
  • เว้นระยะห่างจากรถคันหน้ามากขึ้น เพราะเมื่อถนนลื่น รถจะใช้ระยะเบรกเพิ่มขึ้น
  • ลดความเร็วลงจากการขับเข้าโค้งปกติ ปฏิบัติตามป้ายความเร็วควบคุมอย่างเคร่งครัด
  • ประคองรถให้อยู่ในเลน วางตำแหน่งรถให้ถูกต้อง ห้ามแซงทางโค้ง
  • หากเข้าโค้งเร็วเกินไปอาจทำให้รถสูญเสียการทรงตัว พลิกคว่ำได้ง่าย
  • หากรถลื่นไถล รถเหินน้ำ ให้ถอนคันเร่งเพื่อลดความเร็ว ควบคุมพวงมาลัยให้มั่น ห้ามเหยียบเบรกรุนแรงกะทันหัน จะทำให้รถหมุนเสียการควบคุม

อย่าลืม! เช็กรถให้พร้อมใช้ ตรวจสอบยาง เบรก ไฟส่องสว่าง ใบปัดน้ำฝน เพื่อให้มั่นใจในการขับขี่ตลอดหน้าฝนกันนะ

เทคนิคเข้าโค้งให้ปลอดภัย ขับรถตอนฝนตกให้ระวัง Read More »

จุดอันตรายบนท้องถนนที่ไม่ควรมองข้าม

วันนี้พี่ TZ (Trainingzenter) อยากเน้นย้ำ เสมอว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวกว่าที่น้อง ๆ คิด เพราะในแต่ละวันผู้คนจำนวนมากต่างใช้รถยนต์เดินทางมากขึ้นทุกปี และยิ่งคนใช้รถมากขึ้นเท่าไหร่ แปลว่าความเสี่ยงของอุบัติเหตุก็มีโอกาสเกิดขึ้นมากเท่านั้น เพื่อให้ทุกวันบนท้องถนนของผู้ใช้รถ ใช้ถนนทุกคนให้ปลอดภัยและเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น พี่ TZ จึงขอรวบรวมสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนกับจุดเสี่ยงจากอุบัติเหตุที่ไม่อยากให้มองข้ามกัน

จากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุรถยนต์ที่บันทึกโดยกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยนั้นได้ระบุว่า เมื่อปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมานั้นมีการเกิดอุบัติเหตุรถเกิดขึ้นทั้งหมด 21,032 ครั้ง ซึ่งมากกว่าปี พ.ศ. 2564 ที่เกิดอุบัติเหตุรวม 20,457  ครั้ง โดยมีค่าการเกิดอุบัติเหตุเฉลี่ยกว่า 58 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว

ซึ่งจากสถิติอุบัติเหตุทั้งหมดในปี พ.ศ. 2565  ได้ระบุจุดอันตรายบนท้องถนนที่มีความเสี่ยงนำมาสู่อุบัติเหตุมากที่สุด ดังนี้

  • อันดับ 1: ถนนทางตรงที่ไม่มีความลาดชัน เป็นจำนวน 14,043 ครั้ง มีอัตรา 66.77%
  • อันดับ 2: ถนนทางโค้งกว้างที่ไม่มีความลาดชัน เกิดอุบัติเหตุจำนวน 2,169 ครั้ง มีอัตรา 10.31%
  • อันดับ 3: ถนนทางโค้งกว้างที่มีทางลาดชัน เกิดอุบัติเหตุจำนวน  890 ครั้ง มีอัตรา 4.23%

จากข้อมูลสถิติได้แสดงให้เห็นว่า ถนนที่เป็นทางตรงธรรมดา ดูไม่น่าอันตรายอะไร กลับกลายเป็นจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเยอะที่สุด ดังนั้นเมื่อน้อง ๆ ขับขี่เข้าถนนทางตรง ต้องนึกไว้เสมอเลยว่าเป็นลักษณะถนนที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงทางโค้ง ทางหักศอก การเปลี่ยนเลน บริเวณจุดกลับรถ เป็นจุดเสี่ยงที่ไม่ควรประมาทเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล : safeeducationthai

จุดอันตรายบนท้องถนนที่ไม่ควรมองข้าม Read More »

10 ประเทศ ASEAN ใช้ “ใบขับขี่ไทย” ได้แล้ววว ?…

ในกลุ่มประเทศ AEC มีการทำอนุสัญญาข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับใบขับขี่ภายในซึ่งกัน และกันทั้งหมด 10 ประเทศ ตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้ อนุญาตให้ใช้ใบขับขี่แบบใหม่ของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า “ใบอนุญาตขับรถ Smart Card” ที่มีแถบแม่เหล็ก และเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่รองรับการจัดเก็บข้อมูลการขับขี่ รองรับการติดตามด้วย GPS Tracking (Global Positioning System: GPS) มีความทันสมัย และน่าเชื่อถือ ทำให้ “ใบอนุญาตขับรถ Smart Card” แบบใหม่นี้เป็นที่ยอมรับกันในกลุ่มประเทศ AEC และสามารถใช้แทนใบขับขี่สากลได้ แต่บางประเทศอาจจะต้องมีการใช้เอกสารอื่น ๆ

ประเทศสมาชิกอาเซียนที่รับรองใบขับขี่ประเภทสามสามารถขับรถด้วยใบขับขี่ประเภทนี้ได้ดังนี้ :

  1. ประเทศไทย (Thailand)
  2. มาเลเซีย (Malaysia)
  3. สิงคโปร์ (Singapore)
  4. ฟิลิปปินส์ (Philippines)
  5. อินโดนีเซีย (Indonesia)
  6. บรูไน (Brunei)
  7. กัมพูชา (Cambodia)
  8. ลาว (Laos)
  9. เวียดนาม (Vietnam)
  10. เมียนมาร์ (พม่า) (Myanmar)

เนื่องจากเป็นหนึ่งในข้อตกลงระหว่างประเทศเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN) โดยบัตร Smart card มีการบันทึกข้อมูลเป็นภาษาไทย และอังกฤษ  อีกทั้ง รถที่จดทะเบียนในประเทศไทย ก็สามารถใช้ได้ใน 10 ประเทศทั่วอาเซียน (ASEAN) เช่นเดียวกันกับใบอนุญาต แต่การนำไปใช้ประเทศอื่น จะต้องขอรับป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษ สำหรับการนำรถไปใช้ในต่างประเทศ ก่อนขับรถในต่างประเทศ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เอกสารการยื่นเอกสารขอพาสปอร์ตรถ (car passport) และแผ่นป้ายทะเบียนรถที่เป็นภาษาอังกฤษ (car license plate)

  • สำเนารับรองหนังสือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ หรือสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (รถติดไฟแนนซ์)
  • หนังสือบมอบอำนาจ (กรณีไม่ได้ดำเนินการด้วยตัวเอง)
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
  • เอกสารสำหรับการขับรถข้ามประเทศ
  • ยื่นเรื่องขอเอกสารสำหรับรถได้ที่ขนส่งทุกจังหวัด
  • หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ หรือพาสปอร์ตรถ (car passport)
  • เครื่องหมายแสดงประเทศ (สติกเกอร์ตัว T)
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ เพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร
  • แผ่นป้ายทะเบียนรถภาษาอังกฤษ
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนฉบับภาษาอังกฤษ
  • เอกสารสำหรับคนขับนอกประเทศ
  • ในกรณี ขับขี่ในประเทศ AEC : สามารถใช้ใบอนุญาตขับขี่ไทยที่มีอยู่ได้เลย
  • ในกรณี ขับขี่นอกประเทศ AEC : จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่สากล สามารถยื่นเรื่องติดต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบกจังหวัด และต้องต่ออายุปีต่อปี เช่นเดียวกับพาสปอร์ตรถ
  • เอกสารที่ต้องยื่นออกจากชายแดนไทย
  • ต.ม. 2 รายการเกี่ยวกับยานพาหนะขาเข้า และขาออก
  • ต.ม. 3 บัญชีคนโดยสาร (สำเนาทะเบียนรถพร้อมหน้าเสียภาษี, สำเนาใบขับขี่ และเอกสารของผู้นำรถออก)
  • หนังสืออนุญาตรถระหว่างประเทศ
  • เอกสารยื่นเข้าชายแดนประเทศปลายทาง
  • หนังสือขออนุญาตใช้รถในพื้นที่ของแต่ละประเทศ และในบางประเทศต้องดำเนินเอกสารล่วงหน้าก่อนวันเดินทาง
  • ซื้อประกันภัยบุคคลที่ 3 ของประเทศนั้น ซึ่งสามารถซื้อได้ที่ด่านตรวจชายแดนเลย

.

.

.

รูปแบบใบขับขี่สมาร์ทการ์ดที่ใช้ในกลุ่มอาเซียน (ASEAN group)ต้องมีลักษณะดังนี้ ด้านหน้าบัตรจะต้องมีภาพธงชาติไทย มีรูปตราสัญลักษณ์กรมการขนส่งทางบก เป็นลายน้ำ 7 สี และมีรูปกราฟิกตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดของแต่ละจังหวัด และ มีสติ๊กเกอร์ภาพสะท้อนแสง พร้อมระบบป้องกันการปลอมแปลงซึ่งซ่อนอยู่ในบัตร มีข้อมูลของผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ภาพถ่ายของผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถเป็นภาพถ่ายจริง ณ วันที่ ทำใบอนุญาตขับรถ (Driver’s license) พร้อมระบุจังหวัดที่ออกใบอนุญาตขับรถ  ส่วนด้านหลังบัตรจะมีแถบแม่เหล็กเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data) มีการบันทึกข้อจำกัดในการใช้ใบอนุญาตขับรถ  มีภาพอธิบายประเภทของรถที่ได้รับอนุญาตตามชนิดของใบอนุญาตขับรถ มีลายเซ็นของนายทะเบียนจังหวัดที่ออกใบอนุญาตขับรถ และระบุที่อยู่ของผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถตามข้อมูลของทะเบียนราษฎร

.

.

.

การยอมรับใบขับขี่ประเภทสามต่างกันขึ้นอาจมีข้อกำหนด และเงื่อนไขเฉพาะตามแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน เราควรตรวจสอบกับหน่วยงานจราจรหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบสำหรับการขับรถในประเทศที่เราต้องการเดินทางเพื่อทราบข้อมูลที่ถูกต้อง และข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ใบขับขี่ประเภทสามในประเทศนั้น

10 ประเทศ ASEAN ใช้ “ใบขับขี่ไทย” ได้แล้ววว ?… Read More »

ขับอย่างไรให้ปลอดภัยในเขตชุมชน

ทุกการเดินทางเราพร้อมดูแลคุณ กับบริษัทไอดีไดรฟ์ จำกัด

อุบัติเหตุทางถนนที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการเปิดประเทศ ส่วนใหญ่ยังคงเกิดขึ้นกับพวกเมาแล้วขับ รถจักรยานยนต์กลายเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ตามด้วยรถยนต์ ที่ไม่ได้เกิดแค่บนถนนไฮเวย์ หรือบนทางหลวงเท่านั้น บริเวณชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นไม่น้อย คนเดินเท้า จักรยาน คนข้ามถนน คนขายของที่อยู่ริมถนน เมื่อขับผ่านเขตชุมชนนักขับส่วนใหญ่จะมีความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น เช่น ลดความเร็ว ไม่ขับจี้ท้ายหรือเปลี่ยนช่องทางไปมาด้วยความเร็ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้รถใช้ถนนบางคนที่สติไม่ได้จดจ่ออยู่กับการขับรถ การขาดความระวังแม้แค่แวบเดียวก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ โดยเฉพาะการขับในเขตเมือง การขับรถในเขตชุมชนนั้นดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่กลับมีอันตรายมากกว่าการขับรถบนทางหลวง ต้องใช้สมาธิมากกว่าเดิม ใจร้อน ไม่มีสติ ขาดยั้งคิด

อุบัติเหตุนั้นเพิ่มมากขึ้น การสังเกต หรือคาดการณ์ก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อน เครื่องหมายหรือป้ายจราจรก็เยอะ ผู้คนที่สัญจรไปมาทั้งบนทางเท้าและบนถนน ไม่เห็นป้ายบอกเขตจำกัด    ความเร็ว หรือเขตโรงเรียน  การออกตัว หรือหยุดรถในเขตเมือง โดยขาดความระมัดระวัง อาจหมายถึงอุบัติเหตุ แต่ละถนน แต่ละแยก แต่ละซอย ล้วนเป็นจุดอันตราย

     เขตอันตราย ที่อาจไร้ความระมัดระวัง การเลี้ยวกลับรถบริเวณทางแยกทางร่วม ไม่ว่าจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หรือแม้แต่การขับยูเทิร์น สิ่งที่ต้องระวังก็คือรถบรรทุกขนาดใหญ่ หรือรถพ่วง บางคันอาจกำลังขับคร่อมเลนเมื่อคุณต้องการการเลี้ยวที่ปลอดภัยคือ ต้องเริ่มให้สัญญาณก่อนการเลี้ยวล่วงหน้า อยู่ในช่องทางที่จะเลี้ยวอย่างถูกต้อง ไม่ขับคร่อมเส้นแบ่งช่องทางก่อนการเลี้ยว

      ขับโดยทิ้งระยะห่างจากรถคันข้างหน้าใช้ความเร็วต่ำ เพื่อจะได้มีพื้นที่ในการมองและพร้อมที่จะหลบ หรือเบรกให้ทัน ใช้เสียงแตรเตือนเมื่อไม่แน่ใจว่าเขาจะเปิดประตูออกมาหรือไม่เพื่อระวัง เนื่องจากรูปแบบของอุบัติเหตุนั้นแตกต่างกันออกไปตาม สถานที่ด้วยค่ะ

สาระดี  มีมาฝาก จาก ศูนย์ตรวจสภาพรถไอดีสารคาม โดย บริษัทไอดีไดรฟ์ จำกัด

นำมาฝากสำหรับทุกท่านนะคะ หากอ่านแล้วข่าวสารนี้ได้รับความรู้ ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจด้วยนะคะ ด้วยความห่วงใย จากศูนย์ตรวจสภาพรถไอดีไดรฟ์ ขอขอบคุณค่ะ


☎️ 043-020-512, 063-506-5577 ,093-479-9747

ขับอย่างไรให้ปลอดภัยในเขตชุมชน Read More »