#สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ #สอนขับรถในขอนแก่น

ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง

วันนี้ TZ(trainingzenter) หน้าที่ของไส้กรองน้ำมันเครื่อง ก็คือ “กรองน้ำมันเครื่อง” โดยอาศัยวิธีการให้น้ำมันเครื่องที่ผ่านการใช้งานแล้ว ซึมผ่านกระดาษกรองเข้าไปสู่แกนกลางของตัวกรอง จากนั้นจึงส่งน้ำมันไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยจะดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น เขม่า, เศษโลหะเล็กๆ และฝุ่นผงต่างๆ ไว้ที่กระดาษกรองภายในตัวไส้กรองน้ำมันเครื่องจะมีอุปกรณ์ตัวหนึ่งชื่อ บายพาสวาล์ว (Bypass Valve) หรือ เซฟตี้วาล์ว (Safety Valve) ทำหน้าที่ระบายหรือปล่อยผ่านน้ำมันเครื่องให้เข้าไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องผ่านกระดาษกรองเมื่อกระดาษกรองเกิดการอุดตันจนมีแรงดันของน้ำมันเครื่องเกินกว่าแรงดันของบายพาสวาล์ว เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย

ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง ?

น้ำมันเครื่อง เป็นสารหล่อลื่นที่จะช่วยยืดการใช้งานของเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่องใหม่จะมีประสิทธิภาพในการลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ดีกว่า ทำให้เราต้องเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ น้ำมันเครื่องเมื่อถูกใช้งานแล้วจะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ทำให้คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปสามารถสังเกตได้จากน้ำมันเครื่องที่ถ่ายออกมาหลังจาก ใช้งานครบระยะ จะมีสีเข้มขึ้น มีความข้นเหนียวมากขึ้นและมีตะกอน คราบเขม่าต่างๆ ปนอยู่ด้วย ซึ่งต่างจากตอนที่ใส่เข้าไปใหม่จะค่อนข้างเหลวและใส

ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกจากน้ำมันเครื่องที่ไหลเวียนในระบบ เนื่องจากไส้กรองฯ เป็นตัวดักเก็บสิ่งเจือปนต่างๆที่อยู่ในน้ำมันเครื่อง ทั้งเขม่า ตะกอน รวมไปถึงเศษโลหะของชิ้นส่วนเครื่องยนต์ หากไส้กรองอุดตันจะปล่อยน้ำมันเครื่องที่มีสิ่งสกปรกเจือปนไหลออกมาโดยไม่ผ่านการกรองและเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติได้

ขอขอบคุณข้อมูล : เยลโล่เซอร์วิส

หลีกเลี่ยงขับรถใกล้จุดบอดของรถบรรทุก

วันนี้ TZ (trainingzenter)ได้รับส่งต่อคำแนะนำจาก กรมการขนส่งทางบก กำชับ!!! ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ สวมหมวกนิรภัย หมั่นตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เตือน!!! หลีกเลี่ยงขับรถใกล้จุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่เพื่อความปลอดภัย

รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ประชาชนนิยมใช้ในการเดินทาง โดยเฉพาะในเขตเมืองหรือในพื้นที่จราจรติดขัด เพราะสะดวกและถึงที่หมายอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ขับรถจักรยานยนต์ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและรุนแรงส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์ส่วนหนึ่งคู่กรณีมักจะเป็นรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ กรมการขนส่งทางบกเตือน!!! ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเข้าไปในจุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ โดยจุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ มี 4 จุด ได้แก่

บริเวณด้านหน้าและด้านขวาของรถบรรทุกและรถขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดที่บดบังทัศนวิสัยในการมองเห็น โดยเฉพาะในระยะประชิด เนื่องจากความสูงของตัวรถ

ด้านหลังของรถบรรทุก ผู้ขับรถบรรทุกไม่สามารถมองเห็นด้านหลังของรถจากกระจกมองหลังได้ และด้านซ้ายของรถบรรทุก ซึ่งเป็นพื้นที่อันตรายที่สุด เนื่องจากเป็นจุดที่มีทัศนวิสัยแคบ ผู้ขับรถบรรทุกสังเกตเห็นรถคันอื่นได้ยาก ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จึงควรหลีกเลี่ยงขับขี่รถเข้าไปอยู่ใกล้พื้นที่จุดบอดของรถบรรทุกในทุกกรณี

นอกจากจุดบอดของรถบรรทุกหรือรถขนาดใหญ่ที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรหลีกเลี่ยงแล้ว พื้นที่บริเวณไหล่ทางยังเป็นพื้นที่เสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกได้ออกประกาศกรมฯ กำหนดให้รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันด้านข้าง (LPD) และด้านท้าย (RUPD) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุรถยนต์ที่มีขนาดเล็กหรือรถจักรยานยนต์ล้มเข้าใต้รถบรรทุกหรือรถยนต์ชนท้ายรถบรรทุกเพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถจักรยานยนต์ควรปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนขับรถ ไม่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และสวมหมวกนิรภัยซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุรุนแรง ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บศีรษะและสมอง ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของคนขับและคนซ้อนท้าย แนะนำให้ประชาชนเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) การสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งต้องใส่สายรัดคางให้แน่นกระชับพอดี รวมทั้งต้องหมั่นตรวจสอบสภาพรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยต่อตัวผู้ขับขี่เองและผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมการขนส่งทางบก

น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร มีประเภทไหนบ้าง รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

น้ำมันเครื่อง หรือ Engine Lubricant ถือเป็นสารหล่อลื่นที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งในกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ใช้รถเกือบจะทุกคนคงเคยผ่านการ ถ่ายน้ำมันเครื่อง ให้กับรถของตัวเองมาบ้าง แล้วเคยสงสัยไหมว่า น้ำมันเครื่องที่มีอยู่มากมายในท้องตลาดมันต่างกันอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะกับรถของคุณกันแน่ วันนี้ TZ (trainingzenter) จะพามาทำความรู้จักการเลือกใช้น้ำมันเครื่องกันค่ะ

ประเภทของน้ำมันเครื่อง

ก่อนอื่นเราต้องแบ่งแยกประเภทของน้ำมันเครื่องกันให้ได้ก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด หรือจะเรียกว่า 3 เกรด

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐาน

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว หรือแบบพื้นฐานนี้ จะมีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเดียวตามฉลากบนแกลอน เช่น SAE 50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้

ซึ่งแบบนี้จะเหมาะกับรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ หรือประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดีคือราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะอายุการใช้งานสั้น

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่น ในอุณหภูมิสูงก็จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์

สังเกตง่ายๆ คือจะระบุค่าความหนีดมาให้ 2 ตัว โดยมีตัวอักษร W คั่นกลาง เช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด หาซื้อได้ทั่วไป นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์” หรือ “Synthetic”

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ “Synthetic”  คือ น้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันแร่ ซึ่งได้จากกระบวนการทางปิโตรเลี่ยม เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น รวมถึงแบบ กึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

อักษรย่อหน้าค่าความหนืด

ส่วนเจ้าอักษรย่อหน้าค่าความหนืด นั้นคือตัวย่อของสถาบันที่ทำการทดสอบและรับรองคุณภาพของน้ำมันเครื่อง ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 สถาบัน คือ

1. API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

2. SAE หรือ SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS อันนี้คือสมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ASTM หรือ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS ซึ่งเป็นสมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบบนี้มีให้เห็นมากนัก

เลขเบอร์น้ำมันเครื่อง

คราวนี้ก็มาทำความเข้าใจกับตัวเลขและตัวอักษรที่เหลือว่ามันคืออะไร ซึ่งตรงนี้ควรใส่ใจเป็นพิเศษเพราะมันมีผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ และมีตัวเลขให้เลือกอยู่หลายชุดยก ตัวอย่างเช่น 0W-40, 5W-40, 10W-40, 5W-50 ซึ่งตัวเลขพวกนี้มันคือ ค่าความหนืด หรือ Viscosity ของน้ำมันเครื่อง

หรือที่ศัพท์เทคนิคเรียกว่า “ค่าความต้านทานการไหล” หรือความข้นเหนียวโดยธรรมชาติที่จะแปรผันตามอุณหภูมิ เช่น เมื่อได้รับความร้อนน้ำมันจะใส และ เมื่อได้รับความเย็นน้ำมันจะข้น

โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาวและน้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องในกลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย ซึ่งวัดค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 C ถึง – 5 C ส่วนประเภทนำ้มันเครื่องกลุ่มฤดูร้อนจะวัดค่าความหนืดที่ 100 C ได้แก่ SAE 20,30,40,50 และ 60 เบอร์ที่น้อยจะใสและเบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า

จากนั้นมาดูว่า อันไหนเป็น น้ำมันเครื่องสำหรับดีเซลหรือเบนซิน โดยสังเกตจาก มาตรฐาน API ซึ่งถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะมีตัวอักษร S หรือ (Service Stations Classifications) เช่น API-SG , API-SM และ API-SN เป็นต้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C หรือ (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เช่น CD , CE หรือ CF4

ส่วนน้ำเครื่องที่ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท นั้นจะมีตัวอักษรกำกับอยู่ 2 ส่วน เช่น API SN/CF หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมาตรฐาน SH และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CF แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่าสังเกตุไม่ยากคือค่าอะไรขึ้นก่อนแสดงว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ประเภทนั้น

เลือกน้ำมันเครื่องอย่างไร รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

ทีนี้มาถึง วิธีเลือกน้ำมันเครื่อง ที่ในบ้านเรานั้นมีเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมอยู่หลายเบอร์ด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 ซึ่งถ้าจะเลือกใช้เบอร์ที่ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ขอให้เลือกเบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อน หรือเลขตัวหลังที่เป็นเบอร์ 30 ขึ้นไป เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศร้อนๆ ในบ้านเรา

แต่โดยหลักๆ แล้วคุณควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของคุณ เช่น หากรถของท่านเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดใส จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น แต่หากรถของท่านเป็นรถเก่า มีอาการกินน้ำมันเครื่อง ถ้าจะเลือกใช้ น้ำมันเครื่องสำหรับรถเก่า ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้น

หรือจะให้ชัวร์ ก็ควรที่จะเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามมาตรฐานที่คู่มือกำหนด หรือไม่ก็เลือกเกรดสูงกว่า เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกนานแสนนาน

อ้อเมื่อเลือกกันถูกแล้วก็อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยนะ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะการเปลี่ยนนั้นเราจะนำมาฝากแน่นอนในครั้งต่อๆ ไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : autospinn

การขับขี่ปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ

ตรวจสภาพคนขับ

หากคุณต้องเป็นผู้ขับรถแล้ว ยิ่งต้องขับทางไกลด้วย ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรพึ่งกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง และไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เด็ดขาด

อย่าเปิดกระจก-อย่าปลดล็อกประตู

อย่าเปิดกระจก เพื่อป้องกันฝุ่นควันต่างๆ เข้ามาภายในรถ และอย่าปลดล็อกประตูเด็ดขาด เพื่อป้องกันตนเอง ข้าวของ และคนในรถจากมิจฉาชีพ

ตรวจเช็คเส้นทาง

การสำรวจเส้นทางให้ดี ก่อนลุยจริงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้คนขับสามารถนำทางได้อย่างมั่นใจ ส่วนคนนั่งก็จะไม่ต้องพะว่าพะวง กลัวจะหลง

ใช้ความเร็วให้เหมาะสม

เรื่องการใช้ความเร็วนั้น ต้องใช้ความเร็วตามกฎหมายกำหนด เพราะถ้าเร็วเกินไป นอกจากจะโดนตำรวจจับแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุได้อีกด้วย

ประเมินความพฤติกรรมผู้ร่วมถนน

ประเมินผู้ร่วมถนน ว่ามีนิสัยการขับรถอย่างไร เช่น ไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว ฯลฯ พฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้เราระวังตัว และหาทางหลีกเลี่ยงได้

สรุปเทคนิคการขับรถปลอดภัยเชิงป้องกันอุบัติเหตุ  5 ข้อ

1. การมองไกล

มองไกลไปข้างหน้า 15 วินาที

2. การมองภาพโดยรอบ

มองกระจกทุกๆ 5-8 วินาที

ทิ้งระยะห่างรถกันหน้าอย่างน้อย 4-6 วินาที

3. การเคลื่อนไหวสายตา

เคลื่อนไหวสายตาทุกๆ 2 วินาที

4. การหาทางออกให้ตัวเอง

รักษาระยะห่างรอบตัว

5. การสื่อสารแน่ใจว่าผู้อื่นเห็นเรา

ใช้สัญญาณเตือนต่างๆ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เซฟตี้อินไทย

เรื่องต้องรู้ของ “ที่ปัดน้ำฝน”

สิ่งที่ควรรู้TZ (trainingzenter) เห็นหลายคนไม่ค่อยสนใจที่ปัดน้ำฝนสักเท่าไหร่ แต่เชื่อไหมค่ะว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญของรถยนต์แบบขาดไปไม่ได้เลย โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนแบบนี้ และด้วยความไม่ได้คิดว่าสำคัญนี่แหละค่ะ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนจำเป็น เมื่อขับรถแล้วไปเจอฝนตก ยางที่ปัดน้ำฝนดันเสื่อมไปตั้งแต่ตอนไหนก็ไม่รู้ ใช้งานไม่ดี ทำให้ทัศนวิสัยแย่ และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเข้าไปอีก วันนี้พี่ TZ เลยว่าจะเม้าส์เรื่องราวของ ที่ปัดน้ำฝน ให้ฟังสักหน่อย…ตั้งแต่ วิธีดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน เมื่อไหร่ต้องเปลี่ยน และวิธีเลือกซื้อ

car wipers 03

1. วิธีดูแลรักษาที่ปัดน้ำฝน

  • หลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน
  • หากต้องจอดตากแดด ไม่ต้องยกก้านขึ้น เพราะจะทำให้สปริงที่ก้านเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
  • เติมน้ำที่ปัดน้ำฝน ให้อยู่ในระดับเต็มพอดีอยู่เสมอ
  • ใช้น้ำสะอาดเติมเท่านั้น ไม่เติมน้ำยาลงในถังน้ำฉีดกระจก เพราะจะทำให้ยางและท่อเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
  • ควรใช้ผ้าชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดที่ปัดน้ำฝนไปในทางเดียวกัน สัปดาห์ละครั้ง
  • ทำความสะอาดกระจกรถบ่อย ๆ
  • หมั่นเปิดปุ่มฉีดน้ำบ้าง หากน้ำฉีดไม่ออก นำเข็มไปจิ้มที่รูฉีด เพราะอาจอุดตัน

2. เมื่อไหร่ต้องเปลี่ยนที่ปัดน้ำฝน

  • เมื่อยางปัดน้ำฝน เริ่มฝืด หรือสะดุด และมีเสียงดัง ขณะทำงาน
  • เมื่อไม่สามารถปัดน้ำฝนได้เกลี้ยง รีดน้ำออกไม่หมด ยังเหลือมีคราบรอยน้ำเป็นเส้นยาวอยู่
  • เมื่อยางปัดน้ำฝน มีรอยฉีก หรือแข็งกรอบ
  • เมื่อพบว่ายางปัดเสื่อม ควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะนอกจากจะทำให้ทัศนวิสัยไม่ดีแล้ว ยังทำให้กระจกหรือฟิล์มเป็นรอยด้วย
car wipers 02

3. วิธีเลือกซื้อที่ปัดน้ำฝน

  • เลือกยางปัดน้ำฝน ที่ใช้วัสดุและเนื้อยางที่มีคุณภาพดี ยืดหยุ่น เพื่อความคงทน
  • รถยนต์แต่ละรุ่นใช้ยางปัดน้ำฝนขนาดต่างกัน ควรซื้อให้ถูกขนาดและรุ่น หรือวัดความยาวของอันเดิม ก่อนซื้อ
  • รถบางคัน มีที่ปัดน้ำฝน 2 ก้าน แต่ละข้างอาจความยาวไม่เท่ากัน ควรวัดความยาวทั้ง 2 ข้าง

อ่านจบกันแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงรู้ครบทุกเรื่องเกี่ยวกับที่ปัดน้ำฝน และพร้อมที่จะขับรถฝ่าฝนอย่างปลอดภัยแล้ว ก็อุ่นใจไปเปาะหนึ่ง แต่สิ่งที่เราอยากกำชับห้ามไม่ให้ทุกคน ลืมกันนั่นก็คือ คาดเข็มขัดทุกครั้งที่ใช้รถยนต์นะคะ

ขอบคุณที่มา : safeeducationthai

10 เหตุผล ที่คุณไม่ควรขับรถแช่เลนขวา

วันนี้ TZ (trainingzenter) จะมาแนะนำ การขับรถแช่เลนขวาเป็นปัญหาที่เรียกว่าค่อนข้างใหญ่พอสมควรในสังคมไทย โดยที่เราสามารถสังเกตเห็นอยู่ในทุก ๆ วัน ผู้ขับขี่หลายคนเข้าใจว่าเลนขวาคือเลนสำหรับรถที่ขับเร็ว แต่หลายคนก็ลืมคิดไปว่าบนท้องถนนนั้นมีรถหลายคันที่อาจจะขับเร็วกว่ ารถของตัวเองก็ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่และเป็นที่มาของอุบัติเหตุบนท้องถนนหลาย ๆ ครั้ง ดังนั้นเพื่อไขข้อข้องใจว่าเพราะอะไร คุณถึงไม่ควรขับรถแช่เลนขวา วันนี้ ร้านไทยจราจร มีคำตอบมาให้คุณ

1. ไม่มีพื้นที่ให้แซง โดยปกติแล้วเลนขวาเป็นเลนสำหรับใช้แซงเมื่อแซงเรียบร้อยแล้วต้องรีบหาระยะที่ปลอดภัยเพื่อกลับไปอยู่เลนเดิม แต่การที่คุณขับรถแช่เลนขวานาน ๆหากรถข้างหน้าช้าเหมือนกันการที่รถของคุณจะแซงก็เป็นไปได้ยาก
เพราะไม่มีพื้นที่ให้แซงอีกแล้ว

Placeholder image

 2. เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากเลนขวามีไว้สำหรับรถที่ขับเร็วและรถที่ต้องการแซงเท่านั้นแต่หากรถที่ขับช้าแต่ไปขับเลนขวานานๆโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ก็มีสูงเพราะรถที่ตามมาด้วยความเร็วสูงอาจต้องการแซงซึ่งการแซงซ้ายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ

3. มีรถที่ขับเร็วกว่าเรา
หลายคนอาจจะคิดว่าขณะที่ตัวเองขับรถเลนขวาอยู่นั้นความเร็วที่ใช้เป็นความเร็วที่เหมาะสมแล้วแต่อย่าลืมว่าบนท้องถนนมักมีคนที่ขับเร็วกว่าเราเสมอสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการที่คนขับรถเร็วแล้วต้องตามหลังรถที่ขับช้าอาจะเกิดความหงุดหงิด และรำคาญใจได้เมื่อต้องการแซงก็ไม่มีพื้นที่ให้แซงหากแซงซ้ายก็มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุทั้งคันที่จะแซงและคันที่จะ

Placeholder image

4. ทัศนวิสัยไม่ดี เมื่ออยู่เลนขวานาน ๆ แน่นอนว่าทัศนวิสัยไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะถัดไปจากเลนขวาแล้วจะเป็นเกาะกลางและเป็นเลนสำหรับรถสวน การมองเห็นก็น้อย และมองเห็นไม่ถนัดเท่าไหร่นักหากมีรถตัดหน้าหรือมีสิ่งกีดขวางข้างหน้าก็ยากที่จะหลบมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

Placeholder image


5. สร้างความรำคาญใจให้ผู้ขับขี่คนอื่น ๆ
บางคนอาจจะคิดว่าตัวเองขับรถเร็วที่สุดแล้วแต่อย่าลืมว่ามีคนที่ขับเร็วกว่าเราเสมอการที่เราขับแช่เลนขวานาน ๆ
แน่นอนว่ารถที่ตามมาข้างหลังอาจเกิดความไม่พอใจได้อย่างหลายกรณีที่เรามักเห็นในข่าวที่รถคันหลังยกไฟสูงเพื่อให้รถข้างหน้าหลบให้ แต่ข้างหน้าไม่ยอมหลบเป็นที่มาของอุบัติเหตุและความไม่พอใจต่อกันของผู้ขับขี่

6. ผิดกฎหมายบนท้องถนนจะมีเทปติดถนนสะท้อนแสงที่แบ่งเลนถนนให้เห็นอย่างชัดเจนการที่ขับรถเลนขวาแช่นานๆย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมายจราจรทางบกกล่าวไว้ว่าถนนที่มีการแบ่งเส้น 2 เลน เป็นต้นไปผู้ขับขี่จะต้องขับเลนซ้ายและห้ามผู้ขับขี่ขับรถแบบกีดขวาง
หากฝืนกฎจะมีโทษปรับ 1,000 บาทซึ่งการแบ่งช่องถนนเราก็สังเกตอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะแบ่งด้วย
เทปติดถนนสะท้อนแสงและ หมุดถนน

Placeholder image

  7. เป็นเหตุให้คนอื่นแซงด้านซ้าย มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้สูง
แน่นอนว่าหากเราอยู่ในเลนขวาแล้วต้องการแซงอาจจะแซงขวาต่อไม่ได้อีกทำให้หลายคนเลือกที่จะแซงด้านซ้ายมากกว่า
ซึ่งกรณีที่เลนซ้ายไม่มีรถก็ถือว่าไม่เป็นไรแต่กรณีที่มีรถอยู่เลนซ้ายด้วยรถที่แซงซ้ายไปแทรกตรงกลางก็มีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก

Placeholder image


8. เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหารถติด นอกจากเรื่องของอุบัติเหตุแล้วกาขับรถแช่เลนขวานาน ๆสิ่งที่เห็นได้บ่อยคือเรื่องของรถติดเพราะรถที่ขับช้าทำให้รถที่ตาม
มาขับได้ในความเร็วที่ไม่คล่องตัว ซึ่งหากอยู่ในช่วงเทศกาลหรือบนท้องถนนมีการจราจรค่อนข้างหนาแน่น
การขับขี่ลักษณะนี้จะเป็นหนึ่งสาเหตุทำให้เกิดการจราจรติดขัด

Placeholder image


9. การเปลี่ยนเลนไปมาอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายสำหรับคนที่ขับรถเร็วและต้องตามหลังรถที่ขับช้าแต่แช่อยู่เลนขวา
ผู้ขับขี่อาจจะรู้สึกขัดใจและอยากแซง เรามักจะเห็นบ่อย ๆที่รถแซงซ้ายและสลับเลนไปมาซึ่งหากคุณสามารถควบคุมความเร็วและรถได้ดีก็ถือว่าไม่เป็นไร
แต่ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นอยู่เสมอสำหรับการขับขี่ลักษณะนี้คือผู้ขับขี่สลับเลนไม่ทัน รถเสียหลักและเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้

10. เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่ตั้งใจในการขับขี่โดยเฉพาะถนนที่เป็นถนนสายหลัก รถทางไกล
การขับแช่เลนขวานาน ๆมักเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่ได้ทั้งใจและส่วนใหญ่จะมีความรุนแรงมาก
โดยเฉพาะเมื่อเจอสิ่งกีดขวางรถจะไม่สามารถหลบได้ทันที หรือการชนท้ายหลาย ๆ คัน กรณีที่รถคันหน้าเบรกแบบกะทันหัน
เป็นต้น

บนท้องถนนจะมีการตีเส้นและปัก หมุดถนนให้เห็นอย่างชัดเจนอยู่แล้วซึ่งกฎหมายจราจรก็ได้บัญญัติถึงการขับรถแช่เลนขวาเอาไว้อย่างชัดเจน ร้านไทยจราจร มองว่าการทำตามกฎ ขับขี่อย่างมีมารยาท
เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ดี เพราะการขับขี่ไม่ใช่เพียงการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น
แต่ผู้ขับขี่จะต้องขับรถอย่างปลอดภัย ขับด้วยมารยาทและเคารพกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและผู้ขับขี่คนอื่น ๆ

ขอขอบคุณที่มา : trafficthai

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับการขับรถยนต์

วันนี้ TZ (trainingzenter) จะมาแนะนำ การมีรถยนต์หนึ่งคันสิ่งที่ตามมานั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษา ความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการใช้รถบนท้องถนน  ยิ่งในยุคนี้ด้วยแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้เมื่อเรานั่งอยู่หลังพวงมาลัย เราลองมาดู 10 เรื่องน่ารู้ในการขับรถยนต์ที่รู้แล้ว จะทำให้คุณใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย

1. มีสมาธิกับการขับ เทคนิคขับรถที่ปลอดภัยคือ จะต้องใช้สายตาสาดส่ายไปมา ทั้งกระจกมองหลัง กระจกมองข้างทั้ง 2 ข้าง ไม่ว่าจะเป็นในการเปลี่ยนช่องเดินทางรถ หรือแม้แต่ขับรถทางตรง ต้องเหลือบตามองเป็นระยะให้สม่ำเสมอ การละสายตาไปมองอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นระบบนำทาง ปรับเครื่องเสียง เพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงงดเล่นโทรศัพท์มือถือในขณะที่รถเคลื่อนที่อยู่ และอย่าลืมละสายตามามองที่หน้าปัดบ้าง

2. ร่างกายต้องการของหวาน การนั่งขับรถเป็นเวลานาน ๆ ร่างกายมีความตื่นตัวตลอดทั้งสายตา แขน มือ ขาและเท้า ทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้แนะนำให้กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่างลูกแพร์หรือแอปเปิล และดื่มน้ำเปล่าตาม

การรับประทานอะไรแก้ง่วงระหว่างขับรถ ช่วยให้ร่างกายกะปรี้กะเปร่าได้ดี

3. วอร์มคนก่อนออกรถ ก่อนที่จะออกรถให้คุณนั่งหลังตรงแล้วยืดศีรษะขึ้นให้สูงที่สุดพร้อม ๆ กับดันศีรษะไปที่พนักพิง ทำท่านี้ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นค่อยผ่อนคลายลง ทำซ้ำทั้งหมด 5 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยปรับท่านั่งขับรถของคุณให้ถูกต้องขึ้น และช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อหลังให้ทำงานและปรับกระดูกสันหลังให้ตรงคุณจึงไม่เมื่อยคอขณะขับรถ

4. ขับรถแล้วปวดหลัง หลายคนมีปัญหากับพนักพิงหลังเบาะรถ ไม่ว่าจะอ่อนไปหรือแข็งไปบ้าง แนะนำให้หาตัวรองหลังสำหรับเบาะนั่งรถยนต์ มาหนุนหลัง หรือจะใช้หมอนใบขนาดพอเหมาะมารองแทนก็ได้ ยิ่งคุณประคองกระดูกสันหลังได้มากเท่าไรโอกาสที่จะปวดหลังยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น

5. มองถนนให้ไกล อีกหนึ่งพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดีคือการจ้องมองพื้นถนนข้างหน้ารถหรือท้ายรถคันหน้า ทางที่ดีคุณควรฝึกมองไปข้างหน้าไกล ๆ อย่างเช่น ขณะที่เข้าโค้งก็ให้มองจุดออกจากโค้ง การมองแบบนี้ อาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนจะหลุดออกไปนอกถนน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเพราะการมองเห็นทั้งโค้ง จะช่วยให้คุณเข้าโค้งตามไลน์ได้ถูกต้อง

6. ปรับแอร์ให้เป็น เคล็ดลับขับรถอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนมองข้าม เวลาขับรถในเมืองให้ปรับแอร์เป็นระบบหมุนเวียน เพื่อป้องกันกลิ่นไอเสีย หรืออากาศร้อนจากห้องเครื่องเมื่อรถติดเข้ามาในรถ ทำให้แอร์ทำงานหนักมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อต้องการขับรถทางไกล และมีผู้โดยสารอยู่หลายคน ทำให้อากาศภายในหมุนเวียนภายในไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะมีอาการง่วงนอนได้ ให้เปิดระบบเอาอากาศข้างนอกเข้ามาเป็นระยะ ๆ

7. นั่งทับกระเป๋าตังค์ใช่ว่าดี หลายๆ คนชอบเอากระเป๋าตังค์ไว้ที่กระเป๋าหลังกางเกง โดยเฉพาะผู้ชาย แล้วไปนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ จะทำให้สะโพกสองข้างหนาไม่เท่ากัน เวลานั่งบนเบาะกระดูกสันหลังก็เลยคดและส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก รวมถึงยังเป็นการเพิ่มแรงกดลงบนเส้นประสาทบริเวณกระดูกสะโพกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง

8. ลดน้ำหนักรถ หลายคนชอบเอาของใช้มาไว้ในท้ายรถ เป็นการเพิ่มน้ำหนักรถโดยไม่จำเป็น และจะทำให้อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันนั้นสูงขึ้นไปด้วย ควรเอาของใช้ออกจากรถบ้าง รวมถึงอุปกรณ์เสริมติดรถที่ใช้เป็นบางเวลา อย่างเช่น แร็คติดจักรยาน ที่วางสัมภาระบนหลังคา เมื่อไม่ได้ใช้ก็ควรถอดออก

ปรับเบาะไฟฟ้าให้ถูกสรีระของตัวเอง ช่วยให้ขับรถนานๆ ได้ไม่เมื่อยล้า

9. ปรับเบาะที่นั่ง บรรดาผู้ใช้รถเอสยูวี หรือรถอเนกประสงค์ทั้งหลาย ที่จะมีตัวรถที่สูง ตำแหน่งผู้ขับขี่จะสูงตามไปด้วย เมื่อตำแหน่งที่สูงการมองเห็นจะกว้างกว่าปกติ เวลาขับแล้วจะรู้สึกว่ารถเราไปช้าจะคอยเติมคั่นเร่งอยู่ตลอด ซึ่งแตกต่างจากจากรถที่ต่ำ จะเห็นระนาบถนนมากกว่า จะรู้สึกว่าขับเร็วอยู่ ผู้ใช้รถเอสยูวี ควรลองปรับลดระดับเบาะนั่งให้ต่ำที่สุดแล้วลองขับดู จะได้ความรู้สึกความเร็วเสมือนจริงมากขึ้น

10. อย่าขับรถจี้ท้าย การขับจี้ท้ายรถคันหน้าทำให้รถติด ซึ่งคนขับรถจะต้องเหยียบเบรคบ่อยเกินเหตุเวลาขับจี้ท้าย ดังนั้นรถคันหลังที่ขับตามมาก็จะต้องเหยียบเบรคตามไปด้วย ทุกคนเลยขับรถกระตุกแบบเหยียบเบรคแล้วก็ปล่อยตามกันไปเป็นแถว ทำให้การขับรถไม่ต่อเนื่องไม่สามารถใช้ความเร็วคงที่ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : roojai

สัญญาณเตือน! เปลี่ยนยางรถมอเตอร์ไซค์

วันนี้ TZ (trainingzenter) มีเคล็ดลับ แนะนำเกี่ยวกับ ยางรถจักรยานยนต์โดยปกติแล้วจะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 1-2 ปี หรือ 10,000-20,000 กม. ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขับขี่ สภาพถนนที่ขับเป็นประจำทุกวัน และประเภทของยางที่ใช้ด้วย วันนี้จึงรวบรวมวิธีสังเกตความพร้อมยางเพื่อให้ผู้ขับขี่รู้ก่อนเปลี่ยนก่อน ปลอดภัยกว่า

  1. ลมยางอ่อนเร็วกว่าปกติ ต้องเติมลมยางบ่อย อาจเกิดจากการขับผ่านถนนที่ขรุขระจนทำมห้ผิวยางด้านนอกเสื่อมสภาพ ส่งผลให้ยางในเสียหาย
  2. ดอกยางสึกไม่เท่ากัน หน้ายางสัมผัสพื้นผิวถนนไม่เท่ากัน รีบเปลี่ยน เพราะความสามารถในการยึดเกาะถนนลดลง
  3. ดอกยางโล้น อาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่าปกติ เพราะยางรถจะเกาะพื้นถนนได้ไม่ดีเท่ายางที่มีดอกยางสมบูรณ์ อันตราย! ให้รีบเปลี่ยนยางใหม่ ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
  4. รถเฉไปทางใดทางหนึ่ง สัญญาเตือนว่ายางรถมีปัญหาเกิดการสึกของยางไม่เท่ากัน จึงทำให้การขี่ในแต่ละครั้งรถจะเฉไปยังฝั่งใดฝั่งหนึ่งเป็นพิเศษ
  5. รถแฉลบ รถเหิน ไม่เกาะถนน เนื่องจากความลึกของดอกยางเหลือน้อย การยึดเกาะจึงแย่ลง ทำให้ควบคุมได้ยาก และเกิดการไถลเมื่อเบรกกะทันหัน
  6. รถกระเด้งกระดอนตลอดเวลา อาจเป็นเพราะเนื้อยางเสื่อมสภาพ แข็งจนเกินไปจึงทำให้เกิดภาวะกระเด้งกระดอนระหว่างการขับขี่มากขึ้น

แนะนำวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้น

  • ทำการตรวจเช็กลมยางอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งและควรเติมลมยางประมาณเดือนละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย
  • ทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่ติดค้างอยู่คาล้อ เช่น หิน กรวด ลวด ตะปู ของแข็งแหลม เป็นต้น
  • ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง บนสภาพถนนที่มีทางขรุขระ หลุมบ่อหรือร่องถนน

หากดูแลอย่างสม่ำเสมอและขับขี่อย่างระมัดระวัง นอกจากเป็นการดูแลยางรถให้ใช้งานได้นานขึ้นแล้วยังรวมถึงทำให้ผู้ขับขี่ได้ใช้รถอย่างปลอดภัยอีกด้วย

ขอบคุณที่มาจาก : safedrivedlt